Page 26 - JRISS_VOL1
P. 26

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  21

               ภายนอกห้องเรียน ครูจัดกิจกรรม โดยไม่ได้นําสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการเรียนรู้

               แบบบูรณาการ ครูไม่สามารถจัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ที่เป็นหน่วยการเรียน โรงเรียนขาด
               เครื่องมือการประเมินที่มีคุณภาพ ที่จะใช้ประเมินพัฒนาการเด็ก และโรงเรียนไม่มีการให้ความรู้

               เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กและการอบรมเลี้ยงดู และผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทาง
               โรงเรียนเท่าที่ควร

                         แนวทางการพัฒนา คือ ทางโรงเรียนควรขอความอนุเคราะห์ผู้ที่มีความรู้ ความ

               เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หลักสูตรมาช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อจะได้ปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม
               ผู้บริหารควรประชุมครูเพื่อให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม และควรสนับสนุนให้มี

               การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนไปพร้อมๆ กัน ควรมีการจัดอบรมให้ครูผู้สอน
               เรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โรงเรียนและสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

               ควรสนับสนุนบุคลากรและจัดอบรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ สํานักงานเขตพื้นที่

               การศึกษาควรให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนให้ศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผล
               ออกมาให้ความรู้ในการสร้างเครื่องมือประเมิน เพื่อให้ได้แบบประเมินตรงตามความต้องการของ

               สถานศึกษาและครูผู้สอน และผู้บริหารควรให้ความรู้และประสานความร่วมมือกับชุมชนและ

               ผู้ปกครองของเด็กให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมของโรงเรียนอย่าง
               สร้างสรรค์


               อภิปรายผล

                      1.  สภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

               ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ในภาพรวม และรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมี
               การปฏิบัติในด้านการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบูรณาการเรียนรู้

               และต่ําที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งนี้เป็นเพราะ
               ทุกสถานศึกษาต้องมีการจัดทําหลักสูตรที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัย มีการสร้างสภาพแวดล้อม

               ภายในโรงเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียน มีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสําหรับเด็ก และมีการสร้าง

               ความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและผู้ปกครองของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ มงคล กุล
               เกลี้ยง (2548 : บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษา

               ปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด

               อุบลราชธานี  ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีการจัดการศึกษาปฐมวัย
               อยู่ในระดับมาก โดยงานที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ งานด้านกิจกรรมนักเรียน 2. โรงเรียน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31