Page 27 - JRISS_VOL1
P. 27
22 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
ประถมศึกษาขนาดเล็กมีปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับน้อย โดยงานที่มีปัญหาใน
การปฏิบัติมากที่สุด คือ งานด้านอาคารสถานที่ และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ กมลทิพย์
เพียรกิจนา (2557 : บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของ
โรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ
และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี ภาพรวมและ
รายด้านทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลําดับ จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสร้างหลักสูตร
ที่เหมาะสม ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการประเมินพัฒนาการ
และการเรียนรู้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและครอบครัวเด็ก ด้านการบูรณาการการเรียนรู้
และด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก
2. ปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ในภาพรวม และรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย โดยมีการ
ปฏิบัติในด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก รองลงมา คือ ด้านการ
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก และต่ําที่สุดคือ ด้านการประเมินพัฒนาการและ
การเรียนรู้ของเด็ก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก ทั้งนี้เป็นเพราะทุก
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยมีการปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมของเด็กปฐมวัย จึงส่งผล
ให้ผลของแบบสอบถามมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิจิตรา ตั้ง
ตระการพงษ์ (2555 : บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่อง ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัย
ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอําเภอห้วยราชและอําเภอ
กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการจัดการศึกษาปฐมวัยตามความคิดเห็นของ
ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนระดับปฐมวัย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
โดยรวมอยู่ในระดับน้อย
3. เมื่อเปรียบเทียบสภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จําแนกตามตําแหน่ง ระดับการศึกษา
ประสบการณ์ในการทํางานและขนาดโรงเรียน พบว่า
3.1 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนปฐมวัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและ
ปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุบลราชธานี เขต 3 โดยภาพรวม และรายด้าน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นเพราะผู้บริหารสถานศึกษาทําหน้าที่ในการบริหารสถานศึกษา ซึ่งไม่
เข้าใจบริบทของครูผู้สอนปฐมวัยที่ทําหน้าที่หลักคือการสอน จึงส่งผลให้ผลของแบบสอบถามที่