Page 22 - JRISS_VOL1
P. 22
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 17
สังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้การจัดการศึกษาปฐมวัยยังเปิดโอกาสให้ชุมชนหรือสังคมเข้า
มามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2545ก:2)
จากสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ซึ่งมีสถานศึกษา จํานวน 211 โรงเรียน จัดการเรียนการสอน
ตั้งแต่ระดับปฐมวัย – ประถมศึกษาปีที่ 6 และจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย –
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประกอบด้วยโรงเรียนที่อยู่ใน 5 อําเภอ คือ อําเภอศรีเมืองใหม่ อําเภอโขง
เจียม อําเภอสิรินธร อําเภอพิบูลมังสาหาร และอําเภอตาลสุม มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ดําเนินการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ ให้เกิดคุณภาพที่ดีที่สุดต่อผู้เรียน เพื่อ
ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจํานวนครูไม่ครบชั้น
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ
ทัดเทียมโรงเรียนใหญ่
จากเหตุผลและความสําคัญดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงทําให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะทําการ
การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 เพื่อนําผลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการดําเนินงาน
ของโรงเรียนที่สอนปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้าน
การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการ
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้านการบูรณาการเรียนรู้ ด้านการ
ประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของ
เด็ก และผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุบลราชธานี เขต 3 และผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กร่วมกันวางแผนและพัฒนาการจัด
การศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 เมื่อจําแนกตาม ตําแหน่ง ระดับการศึกษา
ประสบการณ์ในการทํางาน และขนาดโรงเรียน