Page 28 - JRISS_VOL1
P. 28

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  23

               ได้มามีความแตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ มงคล กุลเกลี้ยง (2548 : บทคัดย่อ) ได้

               ทําการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษา
               ขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี  ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหาร

               โรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีตําแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยใน
               โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

                         3.2 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนปฐมวัยที่จบการศึกษาปริญญาตรี และสูงกว่า

               ปริญญาตรีโดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัย
               ของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยภาพรวมและ

               รายด้าน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า
               ผู้บริหารและครูผู้สอนปฐมวัยที่จบการศึกษาในระดับที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหา

               การจัดการศึกษาปฐมวัย ไม่เหมือนกัน จึงส่งผลให้แบบสอบถามแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ

               งานวิจัยของ วิเชียร  เวชสาร (2546 : บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการจัด
               การศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตําบลจังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า

               ข้าราชการครูสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและสมาชิกองค์การบริหาร

               ส่วนตําบลจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพร้อมในการจัด
               การศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตําบลจังหวัดอุบลราชธานีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญ

               ทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นรายคู่ พบว่าข้าราชการครูสังกัด
               สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบลจังหวัด

               อุบลราชธานีที่มีวุฒิการศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรี และปริญญาตรี มีความคิดเห็นต่อความพร้อมใน

               การจัดการศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตําบลจังหวัดอุบลราชธานีโดยภาพรวมและราย
               ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

                         3.3 สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่
               การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จําแนกตามประสบการณ์ในการทํางานโดยรวม และ

               รายด้าน  มีความคิดเห็นแตกต่างกัน โดยผู้มีประสบการณ์ในการทํางาน 10 – 20 ปี กับ มากกว่า

               20 ปีขึ้นไป และที่มีประสบการณ์ในการทํางานต่ํากว่า 10 ปี และ 10 - 20  ปี มีความคิดเห็น
               เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

               ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็น

               เพราะว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนปฐมวัยที่มีประสบการณ์ในการทํางานต่างกัน มีความ
               คิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยแตกต่างกัน  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33