Page 20 - JRISS_VOL1
P. 20
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 15
บทนํา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 22 และมาตรา 44 ได้
กําหนดแนวทางการจัดการศึกษาโดยการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนต้องมี
ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการ
ศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ นอกจากนี้การจัด
กระบวนการเรียนรู้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2542
: 21 – 23)
การจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์ และ
การประยุกต์ความรู้มาเพื่อป้องกันและแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์
จริง ฝึกปฏิบัติให้ทําได้ คิดเป็นรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง การจัดการเรียนการสอน
โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่
ดีงาม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ
สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนอํานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจ
เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ จัดการเรียนรู้
ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคล
ในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน
การพัฒนาให้เด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจําเป็นที่สถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ครอบครัว
โรงเรียน ชุมชน สื่อมวลชน ตลอดจนองค์กรที่จัดบริการพื้นฐานให้กับเด็ก โดยเฉพาะหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาภาคบังคับ คือสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่ง
เป็นหน่วยงานที่ต้องนํานโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และหลักสูตรก่อนประถมศึกษาไป
ปฏิบัติ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีปัจจัย
ที่สําคัญหลายประการประกอบด้วย หลักสูตร ครู กระบวนการบริหารและการจัดการจะต้องมี
ความยืดหยุ่นเปิดโอกาสให้ชุมชนหรือสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา แต่ในปัจจุบันการจัด
การศึกษาปฐมวัยของไทยยังเน้นการให้ความรู้ด้านเนื้อหามากเกินไป ครูส่วนใหญ่ขาด
ประสบการณ์ในการทํางานกับเด็ก การสอนยังเน้นการบอกหนังสือ โดยละเลยการพัฒนา
คุณภาพและการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเด็ก สภาพดังกล่าวส่งผลให้คุณภาพของการศึกษา
ปฐมวัย อยู่ในระดับน่าเป็นห่วง และการเรียนรู้ในชั้นสูงขึ้นของเด็กไทยก็ประสบปัญหาเด็กมี