Page 11 - JRIHS VOL2 NO1 January-March 2018
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.1 January-March 2018

                     จากภาพที่ 1 คําแนะนําเพื่อสุขภาพเสริมสรางดวยกิจกรรมทางกาย2-3 ชั่วโมง/สัปดาห,
             วันเวนวันโดยการออกกําลังกายเพื่อฝกความอดทนของหัวใจและปอด 2-5 ครั้ง/สัปดาห 20-60

             นาที เชน การปนจักรยาน วายน้ํา หรือวิ่ง การฝกความแข็งแรงและความอดทนของกลามเนื้อ 1-
             3 ครั้ง/สัปดาห 20-60 นาที/ครั้ง เชน การซิทอัพ แอโรบิก ยืดเหยียด กี่เดินและกิจกรรมพื้นฐาน
             อื่นๆ 30 นาทีตอวัน อยางนอย 10 นาที/ครั้ง 5-7 วัน/สัปดาห และการทํากิจกรรมในวิถีชีวิต 3-
             4 ชั่วโมงตอสัปดาห ทุกวันหรือเกือบทุกวัน เชน ทํางานบาน งานอาชีพที่ตองออกแรง และงาน
             อดิเรกที่ออกแรง

                     สังคมยุคดิจิตอล คนยุคดิจิตอลมีความผูกพันกับเทคโนโลยีตั้งแตตื่นจนกระทั่งหลับ ทั้ง
             สื่อวิทยุ โทรทัศน หนังสือพิมพ รวมถึงโทรศัพทและอินเตอรเน็ต หากไมมีการจัดระบบหรือการ
             บริหารจัดการที่ดีเหมาะสมกับชีวิตประจําวัน ทําใหสมดุลในชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เมื่อชีวิตขาด

             สมดุลจะเกิดปญหา เชน การติดเกมของเด็ก การติดการเลนอินเตอรเน็ต การเลน Line หรือ
             Facebook ของทั้งเด็กและผูใหญ สงผลใหการเคลื่อนไหวรางกายนอยลง ผลที่ตามมาคือภาวะ
             อวน และโรคเรื้อรังตาง ๆ ไดแก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือด
             สมอง โดยพบวาอัตราตายดวยโรคไมติดตอภาพรวมของประเทศมีแนวโนมที่เพิ่มขึ้นตอเนื่อง

             อัตราตายโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเปน 54.3 ตอประชากรแสนคน ในป 2557 อัตราตาย
             โรคหัวใจขาดเลือด 28.9 ตอประชากรแสนคน ในป 2558 อัตราตายโรคเบาหวาน 17.8 ตอ
             ประชากรแสนคน ในป 2558 สวนอัตราตายโรคความดันโลหิตสูง 12.1 ตอแสนประชากร
             (สถาบันวิจัย จัดการความรู และมาตรฐานการควบคุมโรค, 2559) ดังนั้นจึงจําเปนตองมีการออก

             กําลังกายอยางสม่ําเสมอและตอเนื่อง เพื่อใหการออกกําลังกายถูกตองและมีประโยชน รางกาย
             ทุกสวนไดออกกําลังกายและตอรางกายไมกอใหเกิดการบาดเจ็บ จําเปนตองมีความรูเกี่ยวกับ
             พฤติกรรมออกกําลังกายที่ถูกตอง
                     หลักของการออกกําลังกาย

                      ในบทความนี้จะกลาวถึงการออกกําลังกายตามหลักเกณฑของ “ฟทท” (Frequency
             Intersity Time Type< FITT> ที่วิทยาลัยเวชศาสตรการกีฬาแหงสหรัฐอเมริกา(The American
             College of Sports Medicine  < ACSM,1995) ไดเสนอใหใชพฤติกรรมขั้นพื้นฐานในการออกกําลัง
             กาย ดังนี้

                       1. หลักของความถี่ของการออกกําลังกาย (Frequency of Exercise)  เปนหลักของ
             การกําหนดความถี่ เปนจํานวนครั้งของการออกกําลังกายในแตละสัปดาหโดยควรออกกําลังกาย
             3-5 ครั้ง ตอสัปดาห และตองกระทําอยางสม่ําเสมอ จึงจะมีผลในการเพิ่มสมรรถภาพทางรางกาย
             ทําใหเกิดความทนทานของปอดหัวใจ สําหรับการออกกําลังกายในจํานวนครั้งที่นอยกวานี้ จะมี

             ผลแคการเผาผลาญพลังงานเทานั้นแตไมมีผลในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายภาพทางกาย
                       2. หลักของความแรงหรือความหนักของการออกกําลังกาย (Interaity of Exercise)
             เปนหลักการกําหนดขนาดของการออกกําลังกาย ซึ่งในแตละบุคคลไมเหมือนกัน การออกกําลัง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16