Page 13 - JRIHS_VOL1_NO2
P. 13

8  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.2 July-September 2017

                     2. การวิจัยเชิงชาติพันธุวรรณนา (Ethnography research) เปนการศึกษาใหเขาใจถึง
             ลักษณะทางวัฒนธรรม กฎเกณฑ และสังคมที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมของกลุมคนในสังคมนั้น ๆ

             มุงทําความเขาใจในพฤติกรรมของมนุษยและขอเท็จจริงทางสังคมโดยการเขาไปฝงตัวใน
             วัฒนธรรมของผูรับบริการ (cultural immersion) การสรางสัมพันธภาพ (good rapport)
             เพื่อใหเกิดความไววางใจอันจะนําไปสูการไดขอมูลที่ลึกซึ้ง การสังเกตการณและการเลา
             ประสบการณการทํางานกับผูรับบริการ  การศึกษาเอกสารหรืองานเขียนดานพื้นฐานวัฒนธรรม
             ความเชื่อของผูรับบริการตามเชื้อชาติหรือสัญชาติตาง ๆ การสังเกตแบบมีสวนรวม (participant

             observation) โดยพยาบาลเขาไปสังเกตหรือทํากิจกรรมรวมกับญาติของผูรับบริการ ศึกษา
             กิจวัตรประจําวันและกิจกรรมที่ผูรับบริการทํารวมกับคนในครอบครัว การจดบันทึกเหตุการณ
             เรื่องราวตาง ๆ ซึ่งอาจใชเวลานานเปนเดือน หรือเปนป เพื่อใหเขาใจวัฒนธรรมอยางลึกซึ้ง (กมล

             ทิพย ขลังธรรมเนียม, 2557) ในโลกแหงศตวรรษที่ 21 ซึ่งการศึกษาพยาบาลไดเปดกวางมากขึ้น
             พยาบาลตองมีสมรรถนะที่สําคัญอีกดานคือ ความสามารถในการทํางานขามวัฒนธรรมที่
             หลากหลายได ระบบการศึกษาพยาบาลจึงตองมีการปรับตัว เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคทาง
             การศึกษาที่จะทําใหพยาบาลตางวัฒนธรรมมีวิสัยทัศนรวมกัน และใหทุกคนสามารถรักษาสมดุล

             ดานการประกอบวิชาชีพและมีความเทาเทียมกัน รวมถึงการใหบริการแกผูรับบริการที่มีความ
             หลากหลายทางวัฒนธรรมดวย ดังนั้นพยาบาลจึงตองมีการศึกษาวัฒนธรรมพื้นฐาน และแสวงหา
             ขอมูลเกี่ยวกับวิถีการดําเนินชีวิต บริบทสังคมวัฒนธรรม หรือ วิธีการใหบริการสุขภาพที่
             สอดคลองกับหลักศาสนาตาง ๆ และพฤติกรรมที่แสดงออกของทั้งผูเรียนและผูรับบริการดาน

             การพยาบาล ระบบบริการพยาบาลจึงตองมีการเชื่อมโยงขอมูลไปสูระบบการจัดการเรียนการ
             สอนทางการพยาบาลอยางตอเนื่อง (Sally E. Thorne, 2006)
                     3.  ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) เปนทฤษฎีที่ไดจากวิธีวิทยาในการวิจัยเชิง
             คุณภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการศึกษาปรากฏการณทางสังคมที่เปนไปตามปรากฏการณจริง

             มากที่สุด  เปนการศึกษาปรากฏการณจากมุมมองและการใหความหมายของคน เนนการคนพบ
             ทฤษฎีใหมที่สามารถอธิบายปรากฏการณในสังคมโลกได มีวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลที่
             หลากหลายและเปนระบบ มีการวิเคราะหตลอดกระบวนการทําการวิจัย และนําขอมูลที่ไดมา
             สรางแนวคิดและหาความเชื่อมโยงจากแนวคิดตาง ๆ ใหไดขอสรุปเชิงทฤษฏีสําหรับอธิบาย และ

             ทําความเขาใจปรากฏการณที่เกิดขึ้น (กัญญา โพธิวัฒน และคณะ, 2548 อางถึงใน ศุภลักษณ
             ผาดศรีและวิไลวรรณ มณีจักร สโนว, 2555)
                     4.  ทฤษฎีสตรีวิพากษ (Critical-Feminist Theory) เปนการสรางทฤษฎีตาง ๆ ที่มี
             พื้นฐานอยูบนประสบการณจริงและภาษาของผูหญิง (actual experiences and language of

             women) โดยการศึกษาตรวจสอบชีวิตและประสบการณตาง ๆ ในชีวิตของผูหญิง เปนทฤษฎีที่
             เกิดจากการศึกษาปญหาและการตอบสนองความตองการในลักษณะที่เกี่ยวของกับความไมเทา
             เทียมทางเพศภาวะ การศึกษาการรับรู การใหความหมายประสบการณชีวิตที่บุคคลตองเผชิญ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18