Page 9 - JRIHS_VOL1_NO2
P. 9

4  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.2 July-September 2017

             ดานการศึกษาพยาบาลศาสตร เพื่อเปนแนวทางในการพัฒนาองคความรูทางการพยาบาลให
             เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21

                     การศึกษาพยาบาลศาสตรในศตวรรษที่ 21
                     การจัดการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตรในศตวรรษที่ 21 มีความแตกตางจากการศึกษา
             ในยุคสมัยที่ผานมาอยางมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลาย ๆ ดานไมวาจะเปน
             การเปลี่ยนแปลงดานตัวผูเรียนเอง ความตองการดานสุขภาพของคนในสังคม หรือดานการเขาถึง
             ความรูและเทคโนโลยีตาง ๆ ดังนั้นผูสอนจึงจําเปนตองปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อใหเหมาะสม

             และเกิดบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีสมรรถนะตามความตองการในศตวรรษที่ 21 โดยผูสอนตอง
             ปรับบทบาทจากการเปนผูสอนไปสูบทบาทการเปนผูใหคําแนะนํา การพูดคุยใหคําปรึกษา ผูฝก
             ทักษะ สงเสริมและประเมินความกาวหนาในการเรียนรูของผูเรียน ผูสอนตองสรางสื่อการสอน

             ผานเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อใหผูเรียนสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาทั้งในและนอกหองเรียน และ
             สงเสริมใหผูเรียนไดมีปฏิสัมพันธกับความรูเพิ่มขึ้น เชน การทําความเขาใจกับความรู การ
             วิเคราะห การจัดการ การออกแบบ การสรางสรรคและการนําความรูไปใชจริง การชวยใหผูเรียน
             ไดฝกทักษะการวินิจฉัยปญหาและการแกปญหา รวมถึงการชวยใหผูเรียนสามารถสรางองค

             ความรูใหมขึ้นไดเอง (Scott, C. Luna, 2015) อยางไรก็ตาม สาระวิชาก็ยังมีความสําคัญ แตไม
             เพียงพอสําหรับการเรียนรูเพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปจจุบันการเรียนรูสาระวิชา
             (content หรือ subject matter) ควรเปนการเรียนจากการคนควาเองของผูเรียน โดยครูชวย
             แนะนําและชวยออกแบบกิจกรรมที่ชวยใหนักเรียนแตละคนสามารถประเมินความกาวหนาของ

             การเรียนรูของตนเองได (วิจารณ พานิช, 2555)
                     ในการจัดการเรียนการสอนดานการพยาบาล ผูสอนจําเปนตองตระหนักถึงการ
             เปลี่ยนแปลงตามสถานการณโลกแหงยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนได
             หลากหลายรูปแบบ เชน วิธีการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน (Problem-based learning) การ

             เปดหลักสูตรออนไลน (Massive Open Online Courses: MOOCs) การจัดการเรียนการสอน
             แบบหองเรียนกลับทิศทาง (Flipped classrooms) ซึ่งเปนการจัดการเรียนการสอนแบบ
             ผสมผสานระหวางการใชเทคโนโลยีกับหองเรียนแบบดั้งเดิม มีวัตถุประสงคเพื่อปลูกฝงการเรียนรู
             ที่เขมแข็งและการคิดที่ลึกซึ้งแกนักศึกษา เชนที่ San Jose State University ไดใหนักศึกษา

             วิศวกรรมไฟฟาดูวิดีโอเลคเชอรที่บานและเขาเรียนในหองเรียนจริง สัปดาหละ 2 ครั้ง เพื่อทํา
             กิจกรรมและสนทนาเกี่ยวกับหัวขอที่เรียน ผลพบวานักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น และที่
             University of North Carolina ไดใชวิธีการเรียนแบบหองเรียนกลับทิศทางในนักศึกษาเภสัช
             ซึ่งก็พบวานักศึกษาไดคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเชนกัน (Oxford University, 2015) ดังนั้น ในการ

             จัดการเรียนการสอนดานการพยาบาลซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัตินั้น  ผูสอนจําเปนตอง
             ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนใหเหมาะสมกับผูเรียน และตองประเมินผูเรียนทั้งดาน
             ความรูพื้นฐานและความสามารถพิเศษและอื่น ๆ เพื่อใหนักศึกษาพยาบาลไดพัฒนาตนเองและ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14