Page 13 - JRIHS_VOL1
P. 13

8  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            (Grade II) BMI มีค่า16.9–16 กิโลกรัม/ตารางเมตร ผอมมาก (Grade III)  BMI มีค่าน้อยกว่า 16

            กิโลกรัม/ตารางเมตร (WHO, 2004)
                             2.3 การวัดวงรอบแขน (Mid arm circumference, MAC)  เป็นการวัดรอบวงที่

            แขนซ้ายที่จุดกึ่งกลางระหว่างเส้นตรงที่ลากจาก acromial process มายัง olecranon
            process แล้วนําไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน (ตารางที่ 3)  ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการ

            จะมีวงรอบแขนลดลงมากกว่าร้อยละ 10 (Rourke, 2015)

                             2.4 การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง (skin fold thickness) เป็นการวัดไขมัน
            ใต้ผิวหนังโดยใช้ caliper วัดที่บริเวณ biceps, triceps, subscapular, supra iliac และ calf

            แล้วนําค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (ตารางที่ 3) ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการจะมี
            ความหนาของไขมันใต้ผิวหนังลดลงมากกว่าร้อยละ 10 (Rourke, 2015)



            ตารางที่ 3  Percentile ที่ 10, 50 และ 95 ของวงรอบแขนและความหนาของไขมันใต้แขนใน
            ผู้สูงอายุเพศชายและเพศหญิง (Rourke, 2015)

                      Percentile                          ชาย                    หญิง
                                                 55-65 ปี   65-75 ปี   55-65 ปี    65-75 ปี

                              th
               วงรอบแขน (ซม.)  10                 27.3        26.3       25.7       25.2
                              th
                            50                    31.7        30.7       30.3       29.9
                            95                    36.9        35.5       38.5       37.3
                              th
               ความหนาของไขมันใต้แขน (มม.)   10     6          6          16         14
                                          th
                                                50    11      11          25         24
                                          th
                                                95    22      22          38         36
                                          th

                    3. การประเมินทางคลินิก (Clinical assessment) เป็นการซักประวัติการเป็นโรค และ

            ประวัติทางโภชนาการ รวมทั้งการตรวจทางร่างกาย เช่นตรวจพบกล้ามเนื้อลีบ ปากเป็นแผล

            บวม ซีดมองไม่เห็นในที่มืด เป็นต้น การตรวจนี้ทําควบคู่ไปกับการประเมินทางชีวเคมี
                    4. การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment) เป็นการตรวจค่าสารในเลือดทํา

            ให้ทราบข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงว่าร่างกายขาดสารชนิดใด ได้แก่ค่า albumin, transferring,

            nitrogen balance และระดับวิตามินในเลือดเป็นต้น
                    สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวง

            สาธารณสุข ได้ดัดแปลงแบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment) เพื่อใช้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18