Page 9 - JRIHS_VOL1
P. 9

4  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            การออกไปซื้ออาหาร หรือการออกไปกับเพื่อนฝูงเพื่อรับประทานอาหารร่วมกันลดลง สิ่งเหล่านี้

            ทําให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดภาวะขาดอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับความ
            ต้องการของร่างกาย

                       2. ภาวะจิตสังคม  ผู้สูงอายุที่เคยทํางานประจําเมื่อถึงวัยนี้ซึ่งเป็นวัยเกษียณอายุไม่ได้
            ทํางานประจําแล้ว  มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ บทบาททางสังคม ขาดเพื่อนที่เคยมีกิจกรรม

            ร่วมกัน บางรายขาดคู่ชีวิตหรือต้องอยู่โดยลําพัง แบบแผนในการดําเนินชีวิตที่ผ่านมาต้อง

            เปลี่ยนแปลง ทําให้ผู้สูงอายุรู้สึกสูญเสียสถานภาพ สูญเสียอํานาจ สูญเสียการมีสังคมกับเพื่อน
            ความมีคุณค่าในตนเองลดลง (Eliopoulous, 2005; Mauk, 2006) วิตกกังวล ขาดความมั่นใจ

            เศร้าโศก เก็บกด พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพจิตต่ํา กว่าบุคคลทั่วไปร้อยละ 18.2 และผู้สูงอายุ
            ที่อยู่โดยลําพังมีภาวะสุขภาพจิตต่ํากว่าบุคคลทั่วไปร้อยละ 27.6 (สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2554)

            เห็นได้ว่าผู้สูงอายุขาดเพื่อนหรือสังคมมีปัญหาทางจิตสังคมสูงกว่าผู้สูงอายุที่มีครอบครัว  สิ่ง

            เหล่านี้ทําให้ผู้สูงอายุขาดแรงกระตุ้นในการรับประทานอาหาร ทําให้รับประทานอาหารจํานวน
            น้อยลง รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ พบว่าผู้สูงอายุรับประทานอาหารเพียง 1-2 มื้อ/วัน ถึง

            ร้อยละ 21.4 (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2549) ทําให้มี

            ความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
                       3. ภาวะเศรษฐกิจ  ผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยเกษียณและไม่สามารถทํางานได้  ทําให้มีรายได้

            คงเดิมหรือลดลงแต่รายจ่ายส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาล พบว่าผู้สูงอายุมีรายได้
            ไม่พอเพียงร้อยละ 49.9 (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,

            2549) จากการที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจทําให้ผู้สูงอายุไม่สามารถหาซื้ออาหารที่ตนเองต้องการ

            รับประทานได้ ต้องรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันเพราะรับประทานง่ายและราคาถูก
            กว่าอาหารโปรตีน ทําให้เกิดความไม่สมดุลของภาวะโภชนาการ

                       4. การมีโรคประจําตัวของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจําตัวอย่างน้อย 1 โรค
            เช่น โรคความดันโลหิตสูง/ไขมันในเลือดสูง/คลอเลสเตอรอลในเลือดสูงร้อยละ 33.62

            โรคเบาหวานร้อยละ 15.03 โรคเก๊าท์/โรครูมาตอยด์/ปวดเข่า หลังและคอ ร้อยละ 19.05 และ

            โรคหัวใจร้อยละ 4.83 ผู้สูงอายุจึงแสวงหายาทั้งจากแพทย์ แพทย์ทางเลือก ซื้อยารับประทาน
            เอง ยาสมุนไพร ทําให้ผู้สูงอายุมีการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น พบว่าผู้สูงอายุรับประทานยาจากแพทย์

            ร้อยละ 52.6  และซื้อยารับประทานเองร้อยละ 13.6 (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์

            กระทรวงสาธารณสุข, 2549) ยาเหล่านี้มีปฏิกิริยาต่อยาด้วยกันเอง ต่อร่างกายและมีผลต่อ
            อาหารที่ได้รับ (ตารางที่ 1) เกิดการขัดขวางการย่อย การดูดซึม การเผาผลาญ และการขับออก
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14