Page 12 - JRIHS_VOL1
P. 12

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017   7

                                2.1 การวัดส่วนสูง โดยการวัดความสูงเป็นเซนติเมตรและนํามาเทียบน้ําหนัก

               มาตรฐานเป็นกิโลกรัม ในผู้สูงอายุที่ยืนไม่ได้ให้วัดความสูงเข่า (Knee height)  โดยการวัดความ
               ยาวจากส้นเท้าถึงเข่าเป็นเซนติเมตร แล้วนําไปคํานวณความสูงของผู้สูงอายุโดยใช้สูตร

               (Nutritional assessment of the elderly through Anthropometry, 1988)  ดังนี้
                                   ความสูงในผู้สูงอายุชาย      =  (2.02 x ความสูงเข่า) x (0.04 x อายุ) + 64.19

                                   ความสูงในผู้สูงอายุหญิง     =  (1.83 x ความสูงเข่า) x (0.24 x อายุ) + 84.88

               และนําความสูงที่คํานวณได้ไปเทียบน้ําหนักตัวที่ควรเป็นในผู้สูงอายุในตารางที่ 2


               ตารางที่  2 การเทียบความสูงที่คํานวณได้กับน้ําหนักตัวที่ควรเป็นในผู้สูงอายุ (Andres &
                           et al., 1985)

                ส่วนสูง(นิ้ว/ ซม.*)   น้ําหนัก(ปอนด์/ กก.*)   ส่วนสูง(นิ้ว/ ซม.*)   น้ําหนัก(ปอนด์/ กก.*)

                4 ฟุต 10 นิ้ว/ 147     115-142/ 52-64     5 ฟุต  8 นิ้ว/ 173      158-196/ 72-89
                4 ฟุต 11 นิ้ว/ 150     119-147/ 54-67     5 ฟุต  9 นิ้ว/ 175      162-201/ 73-91
                5 ฟุต  0 นิ้ว/ 152     123-152/ 56-69     5 ฟุต 10 นิ้ว/ 178      167-207/ 75-94
                5 ฟุต  1 นิ้ว/ 155     127-157/ 58-71     5 ฟุต 11 นิ้ว/ 180       172-213/ 78-97

                5 ฟุต  2 นิ้ว/ 157     131-163/ 59-74     6 ฟุต   0 นิ้ว/ 183      177-219/ 80-99
                5 ฟุต  3 นิ้ว/ 160     135-168/ 61-76     6 ฟุต   1 นิ้ว/ 185      182-232/ 83-102

                5 ฟุต  4 นิ้ว/ 163     140-173/ 64-78     6 ฟุต   2 นิ้ว/ 188      187-232/ 85-105
                5 ฟุต  5 นิ้ว/ 165     144-179/ 65-81     6 ฟุต   3 นิ้ว/ 191      192-238/ 87-108
                5 ฟุต  6 นิ้ว/ 168     148-184/ 67-83     6 ฟุต   4 นิ้ว/ 193      197-244/ 89-111

                5 ฟุต  7 นิ้ว/ 170     153-190/ 69-86
               * ได้แปลงหน่วยวัดความสูงจากนิ้วเป็นเซนติเมตร และหน่วยวัดน้ําหนักจากปอนด์เป็นกิโลกรัมโดยผู้เขียน
               บทความ


                        ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการจะมีน้ําหนักตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ในระยะเวลา 6

               เดือน หรือ น้ําหนักตัวต่ํากว่าน้ําหนักมาตรฐานมากกว่าร้อยละ 20

                                2.2 ดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI)  โดยการวัดส่วนสูงและน้ําหนักตัว
               แล้วนํามาคํานวณหาค่าดัชนีมวลกาย  ในผู้ใหญ่ BMI ปกติมีค่าระหว่าง 18.5–22.9 กิโลกรัม/

               ตารางเมตร ภาวะผอม  BMI มีค่าน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยแบ่งระดับความผอม
               ออกเป็น ผอมเล็กน้อย (Grade I)  BMI มีค่า 18.4-17 กิโลกรัม/ตารางเมตร ผอมปานกลาง
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17