Page 11 - JRIHS_VOL1
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            การคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ

                       การค้นหาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะโภชนาการมีขั้นตอนในดําเนินการดังนี้
                         1. การคัดกรองภาวะโภชนาการ (Nutritional screening) การคัดกรองภาวะ

            โภชนาการในผู้สูงอายุเป็นขั้นตอนแรกในการค้นหาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพ

            โภขนาการ สามารถประเมินได้จาก
                            1.1 ประวัติการรับประทานอาหาร ประวัติการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ

            อาหารลดลงใน 7 วัน การเปลี่ยนแปลงเวลาในการรับประทานอาหารโดยมีช่วงห่างในการ

            รับประทานอาหารระหว่างมื้อห่างขึ้น (Blackburn & Bistrian, 1977)
                             1.2 ประวัติการเป็นโรคเรื้อรัง หรือภาวะที่มีการเผาผลาญอาหารเพิ่ม และโรคที่มี

            ผลต่อความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น เช่น การดูดซึมในระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ เป็นแผล
            เรื้อรัง กระดูกหักหลายตําแหน่ง และโรคเบาหวาน เป็นต้น (Blackburn & Bistrian, 1977)

                       สมาคม Parenteral and Enteral Nutrition แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (1995) ได้

            กําหนดดัชนีบ่งชี้ภาวะเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการไว้ดังนี้
                            1) น้ําหนักตัวลดลงร้อยละ 10 หรือมากกว่าในระยะเวลา 6 เดือน

                            2) น้ําหนักตัวลดลงร้อยละ   5 หรือมากกว่าในระยะเวลา 1 เดือน
                            3) น้ําหนักตัวลดลงน้อยกว่าน้ําหนักมาตรฐานร้อยละ 20

                            4) มีภาวะโรคเรื้อรังหรือภาวะที่มีการเผาผลาญอาหารเพิ่ม

                            5) มีการเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหารหรือเวลาในการรับประทานอาหาร
                            6) รับประทานอาหารลดลงในเวลา 7 วัน

                        เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการ  ก็ให้ทําการประเมินภาวะ

            โภชนาการต่อไป
                          2. การประเมินภาวะโภชนาการ (Nutritional Assessment) เป็นการประเมิน

            เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการ โดยแพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้ทํา

            การประเมินเพื่อการวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ การประเมินภาวะโภชนาการมีหลาย
            วิธีทั้งวิธีโดยตรง ได้แก่การวัดส่วนต่างๆของร่างกาย (Anthropometrics assessment)  และวิธี

            ทางอ้อม ได้แก่การประเมินทางคลินิกและการประเมินทางชีวเคมีเป็นต้น โดยทั่วไปยังไม่มีวิธีใด
            วิธีหนึ่งที่จะประเมินภาวะโภชนาการที่ดีพอ จึงต้องอาศัยตัวชี้วัดทางโภชนาการหลายตัวร่วมกัน

            การประเมินภาวะโภชนาการมีดังนี้
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16