Page 18 - JRIHS_VOL1
P. 18

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017   13

                            7. ประเมินและติดตามน้ําหนักตัว ชั่งน้ําหนักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ในภาวะที่ใกล้เคียง

               กัน และติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น Hb, Hct, อัลบูมิน และภาวะไม่สมดุลของอิ
               เล็กโทรไลท์ในร่างกาย

                            8. ประเมินอิทธิพลของความเชื่อและวัฒนธรรม ในการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อ
               ภาวะโภชนาการ

                               9.  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและต่อรองปรับเปลี่ยนความเชื่อและวัฒนธรรม ในการปรับเปลี่ยน

               วิธีการ รูปแบบ และชนิดอาหารที่ส่งเสริมภาวะโภชนาการ
                         10. ประเมินการรับประทานอาหารที่ปรับเปลี่ยนไปโดยไม่ขัดต่อความเชื่อและวัฒนธรรมเดิม

                        11. สอนผู้ป่วยและครอบครัว
                               11.1 ให้คําแนะนําแก่ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแลในการเลือกรับประทานอาหารที่

               ส่งเสริมภาวะโภชนาการ

                               11.2 สร้างอุปนิสัยการรับประทานอาหารของผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแลที่ถูกต้องในการ
               เลือกรับประทานอาหารและไม่ขัดต่อวัฒนธรรมของครอบครัว

                               11.3 ให้คําแนะนําตามสถานการณ์และข้อคําถามของผู้ป่วยและญาติ ให้คําแนะนํา

               แหล่งช่วยเหลือ แหล่งให้คําปรึกษาในชุมชนกับผู้ป่วยและครอบครัว เช่น ศูนย์ผู้สูงอายุในชุมชน
               เป็นต้น

               การประเมินผล ภายหลังการนําแนวกิจกรรมการพยาบาลไปใช้ ให้ติดตามประเมินผลตาม
               เกณฑ์การประเมินดังนี้

                            1. รับประทานอาหารที่คํานวณพลังงานไว้ได้หมดในแต่ละมื้อ

                            2. มีน้ําหนักตัวเพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม ในแต่ละสัปดาห์ BMI ปกติ (18.5-25.0)
               ระดับอัลบูมินในเลือด > 3 กรัม%  ค่า Hb, Hct, อัลบูมินและระดับวิตามินต่างๆในเลือดเพิ่มขึ้น

               หรือปกติ
                            3. ระบุปัจจัยที่ทําให้น้ําหนักตัวลด แยกแยะหรือเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม



               สรุป

                           ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาที่พบบ่อยและส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของ
               ผู้สูงอายุ จึงได้ใช้ภาวะสุขภาพเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จ

               พระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทําแบบคัดกรอง
               และประเมินภาวะโภชนาการขึ้น สามารถใช้ได้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และไม่ใช่บุคลากร
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23