Page 10 - JRIHS_VOL1
P. 10

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017   5

               จากร่างกาย ทําให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร หรือเพิ่มการสูญเสียสารอาหารทําให้เกิดภาวะทุพ

               โภชนาการ


               ตารางที่  1   ยาที่มีผลต่อยาด้วยกันเอง ร่างกายและอาหารที่ได้รับ (Rourke, 2015)
                           กลุ่มยา                 ชื่อยา                       ผลกระทบ

                ยาแก้ปวด               Aspirin             ลดการดูดซึมของ Folic acid วิตามิน C, K
                                                           และเหล็ก
                ยาลดกรด                         Aluminum hydroxide  ลดการดูดซึมของฟอสเฟต

                                       Sodium bicarbonate  ลดการดูดซึมของ Folic acid
                ยาลดการเต้นหัวใจผิดปกติ     Amiodarone     การรับรสเปลี่ยน
                                       Digitalis           คลื่นไส้

                ยาฆ่าเชื้อ                          Penicillin   การรับรสเปลี่ยน
                                       Cephalosporin       ลดการดูดซึมวิตามิน K
                                       Rifampin            ลดการดูดซึมวิตามิน B6, D และ Niacin

                ยาลดความดันโลหิต             Labetelol     การรับรสเปลี่ยน
                                       Methyldopa          ลดการดูดซึมวิตามิน  B12, เหล็ก และ Folic
                                                           acid

                ยาขยายหลอดลม                Theophylline   คลื่นไส้
                ยาขับปัสสาวะ                    Thiazides   ลดโปแตสเซี่ยม แมกนีเซี่ยม และสังกะสี
                ยาระบาย                          Mineral oil   ลดการดูดซึมของวิตามิน A,D,E,K  และสารคา

                                                           โรทีน


                          ผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ ทําให้เพิ่มอัตราการเจ็บป่วย อันเป็น
               สาเหตุที่ทําให้เกิดโรคอื่นๆตามมา และเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น เกิด

               การติดเชื้อได้ง่าย คุณภาพชีวิตลดลงและเป็นสาเหตุการตาย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
               เพราะต้องการการดูแลจากสถานสุขภาพและจากสังคม  พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรในทีม

               สุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วยสูงอายุทั้งในชุมชนและในโรงพยาบาล จําเป็นต้องตระหนักถึงภาวะ

               ทุพโภชนาการที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ พยาบาลต้องสามารถประเมินความเสี่ยงต่อภาวะทุพ
               โภชนาการในผู้สูงอายุให้ได้ตั้งแต่เริ่มแรก  การคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ

               โภชนาการสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เมื่อเกิดปัญหาให้การช่วยเหลือได้
               อย่างทันท่วงทีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15