Page 17 - JRIHS_VOL1
P. 17

12  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            การวางแผนกําหนดกิจกรรมการพยาบาล  และนําไปดําเนินการปฏิบัติการให้การพยาบาล

                    พยาบาลกําหนดเป้าหมายในการดูแลและแนวกิจกรรมการพยาบาลดังนี้
                    เป้าหมายในการดูแล

                         ระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการลดลง หรือไม่มีภาวะขาดสารอาหาร
                        แนวกิจกรรมการพยาบาล

                         1. ประเมินสภาวะการขาดอาหาร น้ําหนักลด หรือต่ํากว่าเกณฑ์ปกติ ตามอายุ ความ

            สูงและโครงสร้าง อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปากอักเสบ เป็นแผล เปลือกตาซีด ค่า BUN สูง
            ค่า Hct, Hb, ระดับอัลบูมิน และ lymphocytes ที่ต่ํา

                         2. ประเมินปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะขาดสารอาหาร จากการสังเกตและบันทึก การ
            รับประทานอาหาร จํานวน ชนิด พลังงานจากอาหาร ความสามารถในการเคี้ยวอาหาร การกลืน

            และการช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร การรับประทานยาหลายชนิด โรคที่มี

            ผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ ภาวะทางจิตสังคม เศรษฐกิจ และความเชื่อในการรับประทาน
            หรือไม่รับประทานอาหารบางอย่าง เป็นต้น

                         3. ปรึกษาโภชนคลินิก/โภชนากร เพื่อคํานวณสารอาหารที่เหมาะกับสภาพผู้ป่วย และ

            กําหนดแผนในการให้อาหารในแต่ละมื้อและแต่ละวัน
                         4. ส่งเสริมให้ร่างกายได้รับอาหารพอเพียง ให้คําปรึกษาในการช่วยผู้ป่วยเลือกอาหาร

            วิตามินและแร่ธาตุให้มีปริมาณ คุณภาพ ตรงกับความต้องการ ความชอบ สามารถปรุงอาหารที่
            เหมาะกับโรคมาให้รับประทานได้ การรักษาโรคฟันและเงือก รักษาความสะอาด ปากและฟัน

            ก่อน-หลังอาหาร จัดให้ได้พักก่อนมื้ออาหาร จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ผ่อนคลายและสดชื่น เพิ่ม

            การเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างวัน
                         5. เริ่มให้อาหารควรให้อาหารที่เป็นน้ําหรืออาหารเหลวก่อนอาหารหลัก จะช่วย

            กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลําไส้ทําให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น อาหารที่ให้ควรเป็นอาหาร
            อ่อนที่มีโปรตีนคุณภาพสูง พลังงานสูง เช่น ปลา ไข่ และนม เป็นต้น ให้จํานวนน้อย บ่อยครั้ง ให้

            ได้อาหารตามแผนการรักษาที่กําหนดไว้ อุ่นอาหารและจัดให้น่ารับประทาน หลีกเลี่ยงอาหาร

            หวาน มัน และมีกลิ่นเครื่องเทศ สังเกตมื้ออาหารที่รับประทานได้มาก ให้จัดอาหารมื้อนั้นให้มี
            ปริมาณมากขึ้น

                          6. สังเกตการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาด

            สารอาหาร เช่น การติดเชื้อในระบบหายใจ แผลหายช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง และจิตใจหดหู่ เศร้า
            ซึม เป็นต้น
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22