Page 8 - JRIHS_VOL1
P. 8

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017   3

               และผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 80 ปี มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 35 ซึ่ง

               ใกล้เคียงกับการศึกษาภาวะทุพโภชนาการผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์ พบภาวะทุพโภชนาการใน
               ผู้สูงอายุร้อยละ  24.43 (สรญา แก้วพิทูลย์ และณัฎฐวุฒิ แก้วพิทูลย์, 2555) จะเห็นได้ว่าการที่

               ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการมากขึ้น ภาวะทุพ
               โภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่จําเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ

               ต่อความต้องการของร่างกายหรือจากการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล (สถาบันเวชศาสตร์

               ผู้สูงอายุ  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2549) ดังนั้นจึงใช้ภาวะโภชนาการเป็นดัชนีชี้วัด
               สุขภาพของผู้สูงอายุ บทความทางวิชาการนี้จะได้นําเสนอความรู้ในหัวข้อของสาเหตุของการเกิด

               ภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ การคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุและ
               การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการในบทบาทของพยาบาล



               สาเหตุของการเกิดภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ

                        ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทาง
               ร่างกาย ภาวะจิตสังคม  ภาวะเศรษฐกิจ และการมีโรคประจําตัว

                         1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีโครงสร้างและการทําหน้าที่ต่างๆ
               ของร่างกายเสื่อมลง เช่น ศูนย์กระตุ้นความอยากอาหารทํางานลดลง การมีเหงือกร่น การยึดติด

               ของฟันกับกระดูกเหงือกไม่แน่น เหงือกอักเสบ เกิดฟันคลอนขณะเคี้ยวหรือกัดอาหาร มีฟันผุ

               หรือฟันร่วงหลุด (Eliopoulous, 2005) พบว่าผู้สูงอายุมีฟันที่ใช้งานได้น้อยกว่า 20 ซี่ถึงร้อยละ
               46.25 (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2549) ทําให้การบดเคี้ยวอาหารลําบาก ไม่ละเอียด ต้อง

               รับประทานนิ่มๆ ชนิดเดิมซ้ําๆ มีปริมาณน้ําลายลดลง (Mauk, 2006) ขาดเอนไซม์ในการย่อย

               แป้ง ปากและลิ้นแห้ง การรับรส การรับกลิ่นลดลง (Eliopoulous, 2005) การเคลื่อนไหวของ
               หลอดอาหาร การย่อยอาหาร การดูดซึมของกระเพาะอาหารและลําไส้ลดลง การเผาผลาญ

               อาหาร การขับถ่ายอุจจาระลดลง (Eliopoulous, 2005) การหลั่งอินสุลินจากตับอ่อนลดลง และ

               การดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินสุลิน ทําให้การนําน้ําตาลเข้าเซลล์ลดลง (Mauk, 2006)
               นอกจากนั้นแล้วการที่มวลกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุเหี่ยวลีบลง  กําลังการหดของกล้ามเนื้อลดลง

               ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อหดตัวใช้เวลายาวนานขึ้น ทําให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
               ของผู้สูงอายุลดลง (Stanley, Blair & Beare, 2004) มีโอกาสเกิดการหกล้มได้บ่อย พบว่าใน

               รอบ 6 เดือนผู้สูงอายุหกล้ม 1-5 ครั้งร้อยละ 14.1 (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์
               กระทรวงสาธารณสุข, 2549) ทําให้ผู้สูงอายุไม่กล้าที่จะไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ยากลําบากใน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13