Page 7 - JRIHS_VOL1
P. 7

2  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            คําสําคัญ:  ผู้สูงอายุ, การดูแล, ภาวะโภชนาการ


            Abstract

                     The  elderly  have  increasingly  changed  in  physical,  psychosocial  and

            economic conditions as well as their underlining diseases. These changes affect

            their nutritional status which can lead to high risk in malnutrition. Therefore,
            screening and nutritional assessment in the elderly is absolute necessary. The

            practical assessment tool must be uncomplicated for nurses and caregivers to be
            able to evaluate by themselves for the purpose of early detection of the risk or

            malnutrition cases. As a result, the elderly will get quick access to care prior to

            malnutrition or progressive malnutrition. The essential care for the elderly need
            to be focus on maintaining their optimum nutrition condition of the body as

            required, along with giving useful advise to their relatives or caregivers in selecting

            appropriate foods in daily life.
            Keywords:  Elderly, Caring, Malnutrition


            บทนํา

                     ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเป็นสังคม

            ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ร่วมกับ
            สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557) เห็นได้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของ

            ผู้สูงอายุเป็นไปอย่างรวดเร็ว การย่างเข้าสู่วัยสูงอายุร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ
            อย่างชัดเจน โดยค่อยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง (Anderson, 2007; Ebersole, Hess, Touhy &

            Jett, 2005) เมื่อมีอายุมากขึ้นปริมาณน้ําในร่างกายลดลง ผิวหนังจึงมีความเหี่ยวย่นและขาด

            ความยืดหยุ่นมาก มวลเนื้อเยื่อของร่างกายทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายในร่างกายลดลง
            (Kyle, Genton, Hans & et al., 2001) ทําให้การทํางานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะมวล

            กล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร การเคลื่อนไหว  การย่อย  การหลั่งและการดูดซึมในทางเดิน

            อาหารลดลง มีผลให้ผู้สูงอายุได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเสี่ยงต่อ
            การเกิดปัญหาทางโภชนาการ จากรายงานของ BAPEN (2008) ในประเทศอังกฤษพบว่า

            ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60-80 ปี มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 25-35
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12