Page 28 - JRISS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 28

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.4 October-December 2018   23

                อภิปรายผล
                        1. บุคลากรกลุมบริหารงานการเงินและสินทรัพย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                ประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน ไดแก ดาน
                ความรูทางวิชาการและการบัญชี ดานเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงินและบัญชี ดาน
                ความสามารถทางการสื่อสาร และดานการทํางานเปนทีม อยูในระดับมากที่สุด เนื่องจากการ
                ปฏิบัติงานของกลุมบริหารงานการเงินและสินทรัพย จะเปนศูนยรวมในการประสานงานการ
                ดําเนินการดานการเงินและสินทรัพยของโรงเรียนในสังกัด ซึ่งมีจํานวนมาก บุคลากรที่

                ปฏิบัติงานตองใชความละเอียดและรอบคอบ โดยจะตองใชความรูทางวิชาการและการบัญชี
                ความรูทางเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงินและบัญชี ความสามารถทางการสื่อสาร การ
                ทํางานเปนทีม และทักษะในการปฏิบัติงานอยางเต็มความสามารถ  จึงจะทําใหสามารถให

                คําแนะนํา เปนที่ปรึกษา อธิบายและชี้แจงระเบียบวิธีการปฏิบัติ แกกลุมโรงเรียนในสังกัดให
                ปฏิบัติไดถูกตอง เพื่อใหผลการปฏิบัติงานกลุมบริหารงานการเงินและสินทรัพย มี
                ประสิทธิภาพ คุมคา โปรงใส สามารถตรวจสอบและเปดเผยตอสาธารณะได สอดคลองกับ
                การศึกษาของพิมพลักษณ อยูวัฒนา (2557, น.34-40) พบวา แนวทางในการพัฒนาบุคลากร

                สายสนับสนุน คือ การคิดอยางเปนระบบ ทักษะที่จําเปนตอการพัฒนาศักยภาพบุคลากร คือ
                การมีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาชวยตัดสินใจหรือแกปญหาในงานที่รับผิดชอบ ความรูในดานการ
                วางแผน การวิเคราะหงาน ความสามารถในการใชคอมพิวเตอรเพื่อเอื้อตอการทํางาน และ
                ทักษะในการประสานงานและการสื่อสาร ความสามารถในการทํางานรวมกับคนอื่น และการ

                ทํางานเปนทีม ผูปฏิบัติงานสวนใหญมีความคิดเห็นวาการบริหารสูความเปนเลิศ เทคนิคการ
                ติดตอประสานงานและการสื่อสาร มนุษยสัมพันธ การทํางานเปนทีม การวางแผนวิเคราะห
                แกไข และการคิดอยางมีระบบ มีความจําเปนที่ควรพัฒนา เชนเดียวกับนุชจรินทร ศรีทอง
                (2552, น.15) ไดกลาวไววา การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรมีความสําคัญและจําเปนที่

                หนวยงานตองดําเนินการพัฒนาใหบุคลากรในหนวยงาน มีความรู ความสามารถ มีทักษะใน
                การทํางานอยูตลอดเวลา สามารถเรียนรูและปรับตัวใหเทาทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกใน
                ยุคปจจุบันและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตาง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อใหการทํางานเปนไปอยาง
                มีประสิทธิภาพ อันจะนําความสําเร็จมาสูองคกรหรือหนวยงาน เชนเดียวกับจุฑามาส

                แสงอาวุธ และพรนิภา จินดา (2551, น.10) ไดกลาวไววา การพัฒนาบุคลากรเปนหนึ่งใน
                กระบวนการบริหารงานบุคคลที่จําเปนอยางยิ่ง เพราะการดําเนินงานขององคกรจะประสบ
                ผลสําเร็จหรือลมเหลวนั้นขึ้นอยูกับความรู ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติและพฤติกรรมของ
                บุคลากรที่ปฏิบัติงานใหกับองคกร เนื่องจากสภาพแวดลอมขององคกรมีการเปลี่ยนแปลงอยู

                ตลอดเวลา บุคลากรจึงมีความจําเปนตองพัฒนาตนเองใหสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะ
                เกิดขึ้นจากสภาพแวดลอมภายใน เชน นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ การขยายงาน การปรับปรุง
                เปลี่ยนแปลงโครงสราง และสภาพแวดลอมภายนอก เชน ดานเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33