Page 61 - JRISS-vol.1-no.3
P. 61
56 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017
1. หลักนิติธรรม หมายถึง การยึดระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ให้เป็นที่
ยอมรับของบุคลากรและสังคม และส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ ข้อบังคับเหล่านี้ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เชื่อมั่นในความถูกต้อง เพื่อให้
ผู้ปฏิบัติงาน หรือสมาชิกในโรงเรียนยึดถือปฏิบัติ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความ
อดทน ขยันหมั่นเพียร และความมีระเบียบวินัย
3. หลักความโปร่งใส หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่าง
ตรงไปตรงมา ทําให้ประชาชนหรือผู้ปกครองสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก และ
มีกระบวนการให้ประชาชนหรือผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้ตรวจสอบความถูกต้องและชัดเจน
4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับรู้และร่วม
แสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและ
คณะทํางาน โดยให้ข้อมูลความคิดเห็น แนะนํา ปรึกษา ร่วมวางแผน และร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ มีความ
กระตือรือร้นในการแก้ปัญหาของโรงเรียนและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัด โดยยึดหลัก
ความคุ้มค่าพอเพียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามจุดมุ่งหมาย
สรุปได้ว่า ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ซึ่งเป็น
แนวทางสําคัญในการจัดระเบียบให้กับสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มี
การใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติ
มั่นคง และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การศึกษาความต้องการจําเป็นในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเมืองสําโรงขามป้อม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึง
ประสงค์ และความต้องการจําเป็นในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
สถานศึกษากลุ่มเมืองสําโรงขามป้อม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุบลราชธานี เขต 4 ใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความ
โปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่า กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน จํานวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น
แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จํานวน 42 ข้อ
และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จํานวน 42 ข้อ มีลักษณะเป็น