Page 36 - JRISS-vol.1-no.3
P. 36

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   31

                รายบุคคล และความไม่ยุ่งยากในการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนของครูที่ปรึกษา ด้านการคัดกรอง
                นักเรียน พบว่า การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี 2
                สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับ

                มาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการมีส่วนร่วมในการจัดทําเกณฑ์การแบ่งกลุ่มนักเรียนของครูที่
                ปรึกษา การมีส่วนร่วมในการแบ่งกลุ่มนักเรียนจากผู้ปกครองและความถูกต้องของผลการ
                วิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียนในการแบ่งกลุ่มนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
                พบว่า การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี 2 สํานักงาน

                เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ทั้งนี้
                อาจเนื่องมาจากมีการจัดกิจกรรมโฮมรูมและบันทึกความสม่ําเสมอในการจัดกิจกรรมก่อน
                เรียนให้กับนักเรียน และการให้ความสําคัญกับกิจกรรมก่อนเรียนของครูที่ปรึกษา ทั้งนี้อาจ

                เนื่องมาจาก สถานศึกษามีการจัดความสอดคล้องในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนกับความ
                ต้องการของนักเรียน ความพร้อมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนของครูที่ปรึกษา ความ
                สม่ําเสมอในการจัดกิจกรรมก่อนเรียนให้กับนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
                พบว่า การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี 2 สํานักงาน
                เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ทั้งอาจ

                เนื่องมาจากสัมพันธภาพระหว่างครูที่ปรึกษากับนักเรียน มาตรการที่ให้ครูที่ปรึกษาดําเนินการ
                ป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนที่ชัดเจนโดยเน้นการปฏิบัติจริง และความศรัทธาน่าเชื่อถือ
                ของนักเรียนต่อครูที่ปรึกษา ด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ

                นักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี
                เขต 2 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ความพยายามของครูที่
                ปรึกษาในการแก้ไขปัญหานักเรียนก่อนการส่งต่อนักเรียน ความพร้อมของนักเรียนในการรับ
                ความช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาและบุคลากรอื่น และความสม่ําเสมอในการติดตามผลการ

                ช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา

                ข้อเสนอแนะ
                        ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้

                        1. สถานศึกษาควรจัดให้มีครูแนะแนวหรือครูที่ทําหน้าที่แนะแนวโดยเฉพาะ เพื่อเป็น
                ผู้ให้คําปรึกษา แนะนํา ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของนักเรียน
                        2. สถานศึกษาควรจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
                เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยมีการใช้รูปแบบที่หลากหลายตาม

                สภาพและความเหมาะสม เช่น การจัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) การประชุมผู้ปกครอง
                โครงการพิเศษต่างๆ เป็นต้น
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41