Page 9 - JRISS-vol.2-no2
P. 9

4  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.2 No.2 April-June 2018

             ประเภทของความขัดแยง
                     Hellriegel และ Slocum (1996) กลาวถึงความขัดแยงในองคการในสองลักษณะ

             ใหญๆ คือ ความขัดแยงระหวางบุคคลกับความขัดแยงในบทบาท
                     ความขัดแยงระหวางบุคคลเกิดขึ้นไดใน 3 ลักษณะคือ ความขัดแยงในเปาประสงค
             (Goal conflict) ความขัดแยงในดานเชาวนปญญา (Cognitive conflict) และความขัดแยงใน
             ดานเจตคติ (Affective conflict) กลาวคือ ความขัดแยงในเปาประสงคจะเกิดขึ้นจากผลลัพธ
             หรือสิ่งที่คาดหวังไมเปนไปตามที่ตั้งไว สําหรับความขัดแยงในดานเชาวนปญญาจะเกิดขึ้นเมื่อ

             แนวคิด หรือความคิดไมสอดคลองกัน สวนความขัดแยงในดานเจตคตินั้น จะเกิดขึ้นจาก
             ความรูสึกหรืออารมณเชิงลบ เชน ความโกรธ เปนตน
                     บทบาทเปนภาระงานและพฤติกรรมที่บุคคลไดรับความคาดหวังวาควรดําเนินการ

             เชน บทบาทของนักศึกษาก็ไดรับความคาดหวังวาจะตองเขาชั้นเรียน อานหนังสือ ทําการบาน
             รวมกิจกรรมในชั้นเรียน เขียนรายงาน และอื่นๆ เปนตน ดังนั้นความขัดแยงในบทบาท จะ
             เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่บุคคลนั้นทําอยูไมสอดคลองกับบทบาทที่คาดหวัง ซึ่งมีสองลักษณะ คือ ความ
             ขัดแยงในบทบาทจากผูคาดหวัง กับความขัดแยงในบทบาทจากตนเอง

                     ความขัดแยงในบทบาทจากผูคาดหวังมี 2 แบบคือ ความขัดแยงระหวางบทบาท
             (intrasender-Role conflict) กับความขัดแยงภายในบทบาท (Intersender-Role conflict)
             ความขัดแยงระหวางบทบาทเกิดขึ้นเมื่อผูมีอํานาจมอบหมายบทบาทใหทํา เปลี่ยนบทบาทที่
             มอบหมายกอนซึ่งทําใหผูปฏิบัติปรับตัวไมทันกับบทบาท และความขัดแยงภายในบทบาท

             เกิดขึ้นเมื่อผูมอบหมายบทบาทสงสัญญาณบทบาทคลาดเคลื่อน ทําใหผูปฏิบัติสับสน
                     ความขัดแยงภายในบทบาทเกิดขึ้น 2 แบบเชนกันคือ ความขัดแยงในบทบาทตาง
             บุคคล (Interrole Conflict) กับ ความขัดแยงในบทบาทของตน (Person-Role Conflict)
             ความขัดแยงในบทบาทตางบุคคล เปนความขัดแยงในบทบาทที่เกิดขึ้นระหวางสมาชิกของ

             กลุมงานหนึ่ง หรือองคการหนึ่งกับกลุมงานหรือองคการอื่น เชน การที่พอหรือแมไดรับ
             มอบหมายใหทํางานลวงเวลา หรือในวันหยุด อาจจะทําใหครอบครัวและลูกไมเขาใจพอแมวา
             ทําไมตองทําอยางนั้น เปนตน สวนความขัดแยงในบทบาทของตนนั้นเกิดขึ้นจากบทบาทที่
             ไดรับมอบหมายไมสอดคลองกับความตองการ คานิยม หรือความสามารถของบุคคลที่ไดรับ

             บทบาทนั้นๆ นั่นเอง

             การจัดการความขัดแยง: แนวคิดและแนวทางในการจัดการ
                     Hellriegel และ Slocum (1996) ใหความหมายและอธิบายเกี่ยวกับการจัดการ

             ความขัดแยงไววา ความขัดแยงหมายถึงการสอดแทรกกิจกรรมหรือวิธีการที่ออกแบบไวเพื่อ
             ลดความขัดแยง หรือบางครั้งก็เพียงทําใหความขัดแยงนั้นไมมากพอที่จะสรางปญหา บุคคล
             หรือองคการจะใชวิธีการตาง ๆ หลายลักษณะในการจัดการความขัดแยงโดยมีจุดมุงหมายที่
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14