Page 10 - JRISS-vol.2-no2
P. 10

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.2 April-June 2018   5

                จะทําใหเจตคติของบุคคลตอความขัดแยงเปลี่ยนไปในทางใดทางหนึ่ง คือ เปนบวก เปนลบ
                หรือสมดุลกันระหวางบวกกับลบ

                        The Foundation Coalition (2016) ใหความหมายของความขัดแยงไววาเปน
                กระบวนการในการพัฒนาทักษะเกี่ยวของกับการแกไขความขัดแยง การสรางความตระหนัก
                เกี่ยวกับสิ่งที่จะทําใหเกิดความขัดแยง ทักษะในการสื่อสารความขัดแยง และการกําหนด
                โครงสรางการดําเนินการเพื่อจัดการความขัดแยงที่เกิดขึ้นในองคการ
                        จากแนวคิดพื้นฐานขางตน จะเห็นไดวาการบริหารความขัดแยงคือการเลือกใชวิธีการ

                หรือแนวทางแบบใดแบบหนึ่งในการแกปญหาความขัดแยงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะดําเนินการโดย
                บุคคลที่เปนคูกรณีความขัดแยง หรือโดยฝายบริหารที่มีอํานาจในการจัดการ และดูเหมือนวา
                จะไมมีสูตรตายตัว หรือวิธีการที่รับประกันประสิทธิผล ทั้งนี้อาจจะเปนเพราะความขัดแยงมี

                หลายมิติ และสิ่งที่ปรากฏกับรายละเอียดของความขัดแยงที่ซอนเรนมีมาก อยางไรก็ตาม หาก
                ความขัดแยงที่เกิดขึ้นไมมีจุดมุงหมายซอนเรน แตเปนเพียงความแตกตางของความตองการ
                บนฐานของความรู ความเขาใจ ความคิดเห็น ความเชื่อและคานิยมลวน ๆ แลว การแกปญหา
                ก็ไมใชเรื่องยาก และมักจะนําไปสูการเปลี่ยนแปลงที่สรางสรรคที่เปนประโยชนตอทุกฝาย ดัง

                แนวคิดที่จะนําเสนอตอไป
                        The Foundation Coalition (2016) นําเสนอแนวคิดและแนวทางในการจัดการ
                ความขัดแยงไววา ความขัดแยงเปนเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้น ทั้งโดยสวนตัวของบุคคล หรือในทาง
                วิชาชีพ และชองทางในการจัดการกับความขัดแยงอาจจะดําเนินการโดยวิธีการแบบเลือกขาง

                การหลีกเลี่ยง การถนอมน้ําใจ การประนีประนอม หรือการประสานความรวมมือ
                        วิธีการเลือกขาง (Competing) เปนวิธีการจัดการความขัดแยงที่เปนไปตามความ
                ตองการของฝายบริหารสูง แตไดรับความรวมมือต่ํา และการเลือกใชวิธีการจัดการความ
                ขัดแยงแบบนี้เหมาะกับกรณีที่ตองการการปฏิบัติใหเกิดผลโดยดวน หรือเมื่อสิ่งที่ตองทําไม

                คอยเปนที่นิยมกันโดยทั่วไป หรือสิ่งที่ตองทํานั้นมีผลสําคัญตอความเปนความตายขององคการ
                เปนตน ทักษะในการจัดการแบบนี้คือ ยืนยันจุดยืน สรางความชัดเจนในจุดยืน เสนอจุดยืน
                และความรูสึก ใชตําแหนงหรืออิทธิพล ถกเถียงหรือโตแยง เปนตน
                        วิธีการหลีกเลี่ยง (Avoiding) เปนวิธีการจัดการความขัดแยงที่ไดผลต่ํา ทั้งเปนไปตาม

                ความตองการของฝายบริหารและความรวมมือของผูเกี่ยวของ แตบอยครั้งคนเราจะเลือกใช
                วิธีการหลีกเลี่ยงในการแกปญหาความขัดแยง เพราะกลัววาจะพัวพันมาถึงตัวเรา หรือไมก็ไม
                มั่นใจในทักษะการจัดการความขัดแยงของตน อยางไรก็ตาม การเลือกใชวิธีการจัดการความ
                เสี่ยงแบบหลีกเลี่ยงนั้น มักจะเปนการแกปญหาความขัดแยงที่มีผลกระทบนอย หรือไมก็เพื่อ

                ลดความตึงเครียดชั่วขณะ เปนการซื้อเวลา หรือไมก็ผูบริหารไมไดมีอํานาจเต็มในการจัดการ
                เรื่องนั้น ๆ เปนตน สวนทักษะการจัดการโดยวิธีนี้คือ การถอนตัวจากความขัดแยง การไมเขา
                ไปยุงเกี่ยวกับประเด็นความขัดแยง การเลิกแกปญหาที่ไมมีทางแก หรือ การยื้อเวลา
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15