Page 7 - JRISS-vol.2-no2
P. 7

2  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.2 No.2 April-June 2018

             on understanding conflict, causes, and guidelines for conflict management in
             organizations.


             ความนํา
                     ความขัดแยงเปนเรื่องปกติของบุคคล และกลุมบุคคล กลาวคือในบางโอกาส ตัวเรา
             เองก็ยังสับสน ลังเล และมีความเห็นแยง หรือการกระทําที่ขัดแยงกับความเชื่อของตนเอง
             แลวจะไปคาดหวังอะไรที่จะไมใหมีความขัดแยงระหวางบุคคล ประเด็นจึงอยูที่วาเราจะทํา

             ความเขาใจและใชประโยชนจากความจริงขอนี้ไดอยางไร ทั้งในการดํารงชีวิต และการทํางาน

             ความเขาใจเกี่ยวกับความขัดแยง

                     ความขัดแยงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน
             , 2546) นิยามคําวาขัดแยงวา “ไมลงรอยกัน และทําใหไมไดรับสิ่งที่จะพึงได” ดังนั้นความ
             ขัดแยงจึงนาจะมีความหมายวา “ความไมลงรอยกันและเปนเหตุทําใหไมไดรับสิ่งที่จะพึงได”
             จึงไมไดแปลวาทะเลาะกัน หรือเปนศัตรูกัน เพียงแตเปนสภาวะการณที่เกิดความไมสอดคลอง

             กัน และหาขอสรุปไมได แตในมิติของสังคม โดยเฉพาะในเชิงจิตวิทยาแลว ความขัดแยงมักจะ
             บงบอกและสื่อความไปในทางวามีการทะเลาะกัน และเลยเถิดไปถึงการเปนศัตรูกันทั้งทาง
             ความคิด การปฏิบัติ หรือการดํารงชีวิต และสังคมของประเทศตะวันตกเขาใจและเห็นวา
             ความขัดแยง (Conflict) เปนสภาวะของความเห็นตาง (disagreement) หรือขอถกเถียงที่

             แตกตางกัน (disagree argument) อันเนื่องมาจากความแตกตางของอุดมคติ ความเชื่อ หรือ
             ความเห็น (Longman Dictionary of Contemporary English, 2001) ซึ่งมีความหมาย
             ใกลเคียงกัน แมจะมีรายละเอียดตางกันก็ตาม แตนิยามของคําวา conflict นี้ในพจนานุกรม
             ของ So Sethaputra (2545) มีหลายความหมาย เชน หมายถึง ปะทะกัน เปนปรปกษตอกัน

             ตรงกันขามกัน ตอสูกัน หรือ ขัดกัน เปนตน ซึ่งไมทราบวาผูรวบรวมความหมายของศัพทใน
             พจนานุกรมเลมนี้ถอดความจากฉบับภาษาอังกฤษ หรือรวบรวมจากหลายตํารา แตดูเหมือน
             จะเปนความหมายที่คนในสังคมไทยสวนใหญเขาใจกัน อยางไรก็ตามในทางวิชาการมีการ
             กลาวถึงและอธิบายคํานี้วาอยางไร เปนประเด็นหลักของบทความนี้

                     Hellriegel และ Slocum (1996) ชี้วาความขัดแยงเกิดขึ้นจากความเห็นไมตรงกัน
             เกี่ยวกับเปาประสงค ความคิด หรือความรูสึกที่เกิดขึ้นระหวางบุคคล หรือกลุมบุคคลใน
             ทีมงาน หรือแผนก หรือในองคการ
                     The Foundation Coalition (2016) นิยามความขัดแยงวาเปนการตอสูหรือแขงขัน

             ระหวางบุคคลที่มีความตองการ มีความคิด ความเชื่อ คานิยม หรือเปาประสงคตรงขามกัน
             และอธิบายวาความขัดแยงเปนสิ่งที่ควรสงเสริมใหเกิดขึ้นในการทํางานเปนทีม แมวาจะไม
             สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นไดก็ตาม ความขัดแยงอาจจะนําไปสูความสําเร็จหรือลมเหลว
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12