Page 40 - JRISS-vol.2-no1
P. 40

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.1 January-March 2018   35

                เพียงพอ โรงเรียนจึงควรดําเนินการซึ่งเปนแนวปฏิบัติการบริหารงบประมาณแบบมุงเนน
                ผลงานตามนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคลองกับ ศุภฤกษ

                เนื่องจํานง (2552)  ที่ไดกลาววา งานบริหารงบประมาณเปนการจัดทําและเสนองบประมาณ
                การจัดสรรงบประมาณ  การตรวจสอบ ติดตามประเมินผล รายงานผลการใชเงิน ผลการ
                ดําเนินงาน การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การจัดกองทุนชวยเหลือนักเรียน
                การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี การบริหารพัสดุ การจัดเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
                และการคุมคาใชจาย เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุด

                              1.2.3 ดานงานบริหารงานบุคคล โดยรวมและรายขออยูในระดับมาก ทั้งนี้
                เนื่องจากโรงเรียนยังดําเนินการไมสอดคลองกับความตองการของผูปกครอง ไดแก ครูผูสอนมี
                เพียงพอและสอนตรงวิชาอก เปนแบบอยางที่ดี แตงกายสุภาพ พูดจาไพเราะ มีความรู

                ความสามารถในการสอน เปดโอกาสใหนักเรียนมีสวนรวมในกิจกรรม โรงเรียนควรเรงรัด
                ดําเนินการวางแผนอัตรากําลังใหเพียงพอ จัดครูสอนใหตรงความรูความสามารถ พัฒนาบุคลากร
                ใหปฏิบิติงานเปนแบบอยางที่ดีตามจรรยาบรรวิชาชีพ. จัดการสอนการสอนใหนักเรียนมีสวนรวม
                ในการจัดกิจกรรม สอดคลองกับงานวิจัยของงานวิจัยของสมบูรณ ผลนาค (2546) ไดศึกษาความ

                คิดเห็นของผูปกครองในการสงบุตรหลานศึกษาตอในโรงเรียนจุฬาภรณวิทยาลัยปทุมธานี พบวา
                ความคาดหวังในดานบุคลากร คือ บุคลากรมีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม มีความรูความสามารถ มี
                วิสัยทัศนกวางไกล ครูชาย–ครูหญิง แตงกายสุภาพ
                               1.2.4  ดานงานบริหารงานทั่วไป โดยรวมอยูในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียน

                ยังดําเนินการไมสอดคลองกับความตองการของผูปกครองเกี่ยวกับกิจการนักเรียน ไดแก การจัด
                กิจกกรรมสงเสริมระเบียบวินัย ความรับผิดชอบตอตนเองของผูเรียน การแจงขาวสารความ
                เคลื่อนไหวในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนใหผูปกครองทราบ การพัฒนาเกี่ยวกับการบริการนี
                กเรียน ไดแก การจัดใหมีครูเวรดูแลความปลอดภัยแกนักเรียน การพัฒนาเกี่ยวกับอาคารสถานที่

                ไดแก การพัฒนาบริเวณโรงเรียนมีความสะอาด รมรื่น สวยงาม สนามเด็กเลน เครื่องเลนเพียงพอ
                ปลอดภัย หองน้ํา สอดคลองกับงานวิจัยของ กัญญานุช  หมายดี (2556, หนา 120) ไดศึกษา
                เกี่ยวกับความคิดเห็นของผูปกครองตอการมีสวนรวมในการบริหารการศึกษาระดับประถมศึกษา
                โรงเรียนเอกชน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแกวเขต 2 ผลการศึกษา

                พบวาผูปกครองมีความคิดเห็นตอการมีสวนรวมในการบริหารการศึกษา ตามดานบริหารทั่วไป ใน
                ภาพรวมอยูในระดับมาก
                       2. เปรียบเทียบระหวางสภาพกับความตองการของผูปกครองตอการจัดการศึกษาของ
                โรงเรียนบานทากอ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต โดยรวม

                และรายดาน แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องจากสภาพการดําเนิน
                ของโรงเรียนในทุกดานไมเปนไปตามความคาดหวังของผูปกครอง จึงมีประเด็นที่โรงเรียนตอง
                พัฒนาในทุกดาน ความตองการพัฒนาอันดับแรก คือ ดานการบริหารงานวิชาการ มีประเด็น
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45