Page 46 - JRISS-vol.1-no.3
P. 46
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017 41
อํานาจของผู้บริหารสถานศึกษา จําแนกตามประสบการณ์สอนของครู และใช้วิธีของเชฟเฟ่
(Scheffe' ‘s Method) วิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่กรณี พบค่าความแตกต่างเป็นราย
กลุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้อํานาจของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ใช้วิธีสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษา ประกอบด้วย ครูจํานวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนกลุ่ม
ตัวอย่าง จํานวน 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์แนวทางการ
พัฒนาการใช้อํานาจของผู้บริหารสถานศึกษา มีประเด็นการสัมภาษณ์ 5 ประเด็น
ประกอบด้วย อํานาจความเชี่ยวชาญ อํานาจตามตําแหน่ง อํานาจการบังคับ อํานาจการ
อ้างอิง และอํานาจข่าวสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อความ (Content Analysis) และสรุปในเชิงบรรยาย
สรุปผลการวิจัย
1. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อํานาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้านและรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และทุกข้อของทุกด้าน คือ 1) ด้านอํานาจความ
เชี่ยวชาญ 2) ด้านอํานาจตามตําแหน่ง 3) ด้านอํานาจการบังคับ 4) ด้านอํานาจการอ้างอิง 5)
ด้านอํานาจข่าวสาร
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อํานาจของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จําแนกตามเพศ พบว่า
โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายด้าน พบว่าแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านอํานาจความเชี่ยวชาญ ด้าน
อํานาจตามตําแหน่ง ด้านอํานาจการบังคับ ด้านอํานาจการอ้างอิง และด้านอํานาจข่าวสาร
และจําแนกตามประสบการณ์ในการสอน พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่
มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้อํานาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 สรุปได้ดังนี้
3.1 ด้านอํานาจความเชี่ยวชาญ ผู้บริหารควรพัฒนา ดังนี้ 1) ด้านงานวิชาการ
ผู้บริหารควรพัฒนาด้านงานวิชาการในเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวิจัยเพื่อ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ
การศึกษา 2) ด้านงานบริหารบุคคล ผู้บริหารควรพัฒนาด้านงานบริหารบุคคลในเรื่อง การให้
ความรู้เกี่ยวกับการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การจัดสรรอัตรากําลัง 3) ด้านงานบริหารทั่วไป
ผู้บริหารควรพัฒนาด้านงานบริหารทั่วไป ในเรื่อง การช่วยเหลือในการพัฒนาระบบและ