Page 9 - JRISS_VOL1
P. 9

4  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            เพื่อสร้างกําไรมากขึ้น เราต้องเปลี่ยนดัชนีวัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจใหม่จาก GDP

            เป็น NPV หรือ Net Planetary Value ซึ่งจะเน้นความอยู่ดีกินดีและความยั่งยืนมากกว่าการ
            เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว

                    จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า Value-based economy เป็นระบบ
            เศรษฐกิจใหม่ของโลกอนาคต จึงไม่ได้จํากัดอยู่เฉพาะเรื่องอุตสาหกรรม หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่

            ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกระบบที่เกี่ยวข้องดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบการเงิน การ

            ธนาคาร สุขภาพ และการบริหาร เป็นต้น โดยที่ทุกระบบให้ความสําคัญกับการสร้างคุณค่าของ
            สิ่งที่ทํา มากกว่ามุ่งผลกําไร และมุ่งผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่มากกว่ากลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

            เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของทุกคนให้อยู่ร่วมได้อย่างมีความสุขและมีความหมาย ด้วย
            ความหมายดังกล่าวนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับการเรียกระบบเศรษฐกิจใหม่นี้ว่า “เศรษฐกิจเน้น

            คุณค่า” และ McCune, Stone, และ Esselman (2014) เสนอว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและ

            เอกชนที่นําใช้หลัก Value-Based Economy ให้เกิดผลนั้นต้องเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบสําคัญ
            ขององค์การอย่างน้อยสามอย่าง คือ สมรรถนะ วัฒนธรรม และแนวปฏิบัติในการให้ค่าตอบแทน

            หรือรางวัล ซึ่งถ้าประเทศไทยจะตั้งเป้าและเลือกเส้นทางนี้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ยังมี

            การบ้านที่ต้องทําอีกเยอะครับ
                    ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่นี้มีสองหลักคือ

            หลักการจัดการศึกษาที่ยึดคุณค่าเป็นฐาน (Value-Based Education) กับหลักการจัดการศึกษา
            4.0 โดยแนวคิดแรกนั้นเน้นการจัดการศึกษามุ่งเน้นคุณค่าที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการศึกษาที่จะ

            ยังประโยชน์และมีความหมายกับผู้เรียนและสังคม (Value-based Education, 2017;

            Ledbury Primary School, 2017; Value-Based Education, 2017) ขณะที่แนวการจัด
            การศึกษา 4.0 นั้นมุ่งเน้นการศึกษาที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม (Harkins,

            Arthur M., 2017; Staffingamericalatina, 2016; Neuvo, 2012) ซึ่งแต่ละแนวคิดมีหลักคิด
            และแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายการอ้างอิงที่กล่าวมา

            ข้างต้น


            จุดเริ่มต้นและพัฒนาการแนวคิดในประเทศไทย

                    ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559 ก) กล่าวถึงบุคคลที่น่าจะเป็นผู้จุดประกายแนวคิด “ประเทศ

            ไทย 4.0” คือท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งท่านได้พูดเรื่อง
            นี้ไว้หลายที่และหลายเวลาว่าต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศไทย 4.0 คือเป็นประเทศที่สร้าง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14