Page 10 - JRISS_VOL1
P. 10

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June  2017   5

               นวัตกรรมให้ได้มากขึ้น ต่อมาท่านรองนายกรัฐมนตรีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้นําเรื่องนี้มากําหนด

               เป็นนโยบาย และท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านสุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้ขยายความ
               เพิ่มเติมคืออยากให้ประเทศเป็น Value-Based Economy โดยการสร้างความมั่งคั่งผ่าน

               วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัฒนธรรมความคิดริเริมสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสินค้าที่เป็นนวัตกรรม
               ไม่ใช่โภคภัณฑ์ชนิดเดิมๆ

                      ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาท่านสุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้นําเสนอแนวคิดเรื่องนี้โดยการบรรยาย

               เขียนบทความ และให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (สุวิทย์ เมษินทรีย์,
               2558; ไทยรัฐออนไลน์, 2559; และ Suvit Maesincee, 2016) ดังมีสาระสําคัญที่จะนํามาเสนอ

               ในบทความนี้ดังนี้
                       ประการแรกคือประเทศไทย 4.0 เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยตาม

               วิสัยทัศน์การบริหารประเทศที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งบริหาร

               ประเทศมาตั้งแต่พุทธศักราช 2557 จนถึงปัจจุบัน  เพื่อพัฒนาประเทศจากประเทศที่มีรายได้ต่ํา
               ไปสู่รายได้สูง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมด้วยทรัพยากรไปสู่ด้วยนวัตกรรม เปลี่ยน

               ผ่านจากยุค 1.0 (เกษตรกรรม) ผ่านยุค 2.0 (อุตสาหกรรมเบา) ยุค 3.0 (อุตสาหกรรมหนัก) ไปสู่

               ยุค 4.0 (เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Value-Based Economy)
                      ประการที่สอง คือการนําพาประเทศออกจากกับดัก การทํามากรายได้น้อยไปเป็นการ

               ทําน้อยแต่รายได้มาก ด้วยการเปลี่ยนแปลงในสามมิติคือ
                      1.  เปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรม

                      2.  เปลี่ยนการขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมเป็นด้วยเทคโนโลยี และ

                      3.  เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้าเป็นภาคบริการให้มากขึ้น
                      ประการที่สาม คือ แนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมนั้น

               เป็นการเปลี่ยนความได้เปรียบของประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม เป็น
               การได้เปรียบเชิงแข่งขัน โดยการเพิ่มด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์

               และเทคโนโลยี และวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดด้วยการได้เปรียบใน 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ

                      1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture and Bio-Tech)
                      2.  กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness, and

               Bio-Med)

                      3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และเครื่องมือกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
               ควบคุม (Smart Devices, Robotics, and Mechatronics)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15