Page 11 - JRISS_VOL1
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

                    4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับเครื่องกลต่างๆ

            ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, Internet of Things (IoT), Artificial
            Intelligence and Embedded Technology)

                    5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture
            and High Value Services)

                    ประการสุดท้ายคือกระบวนการพัฒนา มีสามลักษณะคือ

                    1. เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ 20 ปี ในการขับเคลื่อนสู่ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง และ
            ยั่งยืน

                    2. เป็น Reform in Action ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การวิจัย และ
            พัฒนา และการศึกษาไปพร้อมๆ กัน

                    3. เป็นการผนึกกําลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่

            ผนึกกําลังพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญา
            เศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”

                    ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาไทย 4.0 นั้นมีแนวคิดและข้อเสนอในลักษณะที่มุ่งพัฒนา

            ผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมใหม่ และเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค
            (ศันสนีย์ ไชยโรจน์, 2016; วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์, 2016; ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, 2559) แต่

            ส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงแนวคิด และยังไม่ค่อยตกผลึกเท่าที่ควรว่ามีความเข้าใจแก่นคิดของเรื่องนี้
            อย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามนักวิชาการที่ได้ศึกษาค้นคว้าและมีงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มากที่สุดใน

            ประเทศไทย ในขณะนี้คือไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (2559) ที่ได้บรรณาธิการหนังสือ

            เกี่ยวข้องกับการศึกษาไทย 4.0 ไว้ 27 บทความ และไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559 ก และ 2559 ข)
            ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือดังกล่าวที่มีเนื้อหาตรงวัตถุประสงค์ในการเขียน

            บทความนี้พอสรุปได้ดังนี้
                    ประการแรก ไพฑูรย์ สินลารัตน์ กล่าวว่าท่านไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนใช้การศึกษา 4.0

            เป็นคนแรก ในประเทศไทย แต่ในการเตรียมเสวนาในงาน “ไพฑูริยะเสวนาครั้งที่ 2” ในปี พ.ศ.

            2556 ท่านก็ได้ใช้คําว่าการศึกษาไทย 4.0 แล้ว โดยใช้ชื่อหัวข้อการสนทนาว่า “การศึกษาไทย
            4.0: การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ” (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2559 ก)

                    ประการที่สอง ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559 ก) นิยามการศึกษาไทย 4.0 ไว้เป็นการศึกษา

            ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานหรือนวัตกรรมได้ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษา 3.0 เป็น
            การศึกษายุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีหรือยุคโลกาภิวัตน์ การศึกษา 2.0 เป็นการศึกษาใน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16