Page 13 - JRISS_VOL1
P. 13

8  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            จะทําให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักผู้มีรายได้ปานกลางไปสู่ผู้มีรายได้สูง แต่ขณะเดียวกันเราก็ยัง

            ขาดมุมมองอีกด้านหนึ่งของ Value-based economy คือระบบเศรษฐกิจที่ยึดคุณค่าเป็นสําคัญ
            ซึ่งเป็นฐานคิดที่ระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบการเงิน การ

            ธนาคาร การอุตสาหกรรม การบริการ การจัดการ การศึกษา และการเมืองก็ตาม ระบบเหล่านี้
            ต้องยึดคุณค่าในสิ่งที่ทํา มากกว่าผลกําไร หรือการเพิ่มมูลค่าของการผลิต หาไม่แล้วเราก็คงติด

            กับดักตัวใหม่คือ “การมุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่” และ

            วนเวียนอยู่กับพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียวจนละเลยความเป็นอยู่ของเพื่อนมนุษย์ ความสุขและ
            ความหมายของชีวิตและการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติ การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรของ

            โลก และนิเวศวิทยาเพื่อสรรพสิ่งที่อาศัยโลกใบนี้ร่วมกัน อันเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยระบบ
            เศรษฐกิจที่ผ่านมา



            สาระสรุปและความเห็นท้ายเรื่อง
                    พัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมอาจจะผ่านมาแล้ว 3 ยุค ดังที่ Alvin Toffler (1980)

            เสนอไว้ในหนังสือ The Third Wave และตอนนี้โลกกําลังก้าวไปสู่อีกยุคใหม่ ซึ่งจะเรียกว่ายุค

            นวัตกรรม หรือยุคที่ 4 หรือ 4.0 ก็ได้ แต่ชื่อที่กระตุ้นต่อมนวัตกรรมสมยุคมากที่สุดคือ “4.0”
            และนี่คือที่มาของประเทศไทย 4.0 ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้ 4.0 ไม่ใช่ 4 เฉยๆ คืออะไรนั้นผู้เขียนยัง

            ไม่พบคําอธิบายไว้ที่ไหน แต่ก็เห็นว่าเป็นการเลือกใช้คําที่ส่งเสริมความต่อเนื่องยั่งยืน คือ พัฒนา
            ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนเลขทศนิยม และให้โอกาสในการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป แบบถ้าทําได้

            ในเบื้องต้นก็อาจจะเป็น 3.1 หรือ 3.2 และถ้าทําได้มากกว่า 4.0 ก็อาจจะเป็น 4.1 หรือ 4.99 ก็

            ได้
                    ข้อสรุปประการที่สองคือ โลก 4.0 จะเป็นแบบไหน เน้นอะไรก็ขึ้นอยู่กับหลักคิดและ

            พัฒนาการของแต่ละกลุ่มนักวิชาการ สังคม หรือแต่ละประเทศ จึงไม่มีแนวคิดไหนถูก หรือผิด
            และดีหรือไม่ดีกว่ากัน บางแนวคิดอาจจะใช้ “4.0” เป็นจุดขาย แต่บางแนวคิดก็จะใช้หลักการที่

            เป็นฐานคิดของทางเลือก เช่น “Value-based หรือ ฐานคุณค่า” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ใน

            ทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า ไม่ว่าใครจะเลือกใช้แนวคิดไหน โลกในอนาคตควรเป็นโลกสําหรับพวก
            เราทุกคนและสรรพสิ่งทุกสิ่งควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกัน ในฐานะผู้

            อยู่อาศัยในโลกใบนี้ร่วมกัน จุดหมายของกิจกรรมที่ดําเนินการนั้นควรเน้นคุณค่าและประโยชน์ที่

            จะเกิดขึ้นสําหรับทุกคน ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18