Page 14 - JRISS_VOL1
P. 14

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June  2017   9

                      ข้อสรุปที่สามคือหลักและแนวทางในการจัดการศึกษาสําหรับโลกยุค 4.0 นั้นแม้ว่าโลก

               ยุคนี้ให้ความสําคัญกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แต่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
               ควรเป็นเครื่องมือในการดํารงชีวิต ความอยู่ดีกินดี และการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติและสรรพสิ่ง

               มากกว่าการเป็นไปเพื่อความแปลกแยกและความเหลื่อมล้ําในด้านต่างๆ ของคนในสังคม และ
               สรรพสิ่งในโลก และสิ่งที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งคือ ถ้านวัตกรรมที่สร้างขึ้นจะถูกนํามาใช้แทน

               แรงงานของคน เพราะคนต้องมีอาชีพ มีรายได้ และมีแหล่งได้มาซึ่งทรัพยากรในการดํารงชีวิต

                      ข้อสรุปสุดท้าย คือ การเดินทางไปสู่จุดหมาย อาจจะเลือกได้หลายทาง และระยะเวลา
               ในการเดินทางได้ และที่สําคัญที่สุดคือการเปลี่ยนจุดหมาย อาจจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง

               เส้นทางในการเดินทางสู่เป้าหมายก็ได้ หมายความว่า แม้ว่าโลกยุค 4.0 เป็นสิ่งที่เกือบทุก
               ประเทศทั่วโลกถือเป็นวาระแห่งชาติ แต่การที่จะพยายามทําในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนของเราอาจจะ

               นําไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากและเป็นปัญหามากกว่าเดิมก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนวิธีคิดอาจจะทํา

               ให้เปลี่ยนสถานการณ์เป็นคนละเรื่องเดียวกันก็ได้ เช่น ถ้าเรากําลังวิ่งตามหลังคนอื่น เราจะอยู่
               ด้านหลัง แต่ถ้าเราหยุดและหันหลังกลับไปอีกทาง เราก็จะเป็นคนที่อยู่หน้าสุดของกระบวนการ

               ใหม่ก็ได้ เพียงแต่เราต้องรู้อย่างแท้จริงว่าเราต้องการอะไร

                      นี่คือบทสรุปและความเห็นเท่าที่ผู้เขียนเห็นและเข้าใจในปัจจุบัน ขอบคุณครับ


               เอกสารประกอบการค้นคว้า
               กรุงเทพธุรกิจ. (25 ธันวาคม 2557). เศรษฐกิจสร้างคุณค่า พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (1), สืบค้น

                      จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/625204

               ไทยรัฐออนไลน์. (2 พฤษภาคม 2559). ไขรหัส “ประเทศไทย 4.0” สร้างเศรษฐกิจใหม่ก้าวข้าม
                      กับดักรายได้ปานกลาง, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/613903

               ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (ก). (2559). “การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา” ใน การศึกษา 4.0 เป็น
                      ยิ่งกว่าการศึกษา. บรรณาธิการโดยไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

                      แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 15-36.

               ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (ข). (2559). “สี่เสาหลัก (4 Pillars) ของการศึกษา 4.0” ใน การศึกษา 4.0
                      เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. บรรณาธิการโดยไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, กรุงเทพฯ: โรง

                      พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 78-84.

               ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (บรรณาธิการ). (2559).  การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา.
                      กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (พิมพ์ครั้งที่ 2).
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19