Page 12 - JRISS_VOL1
P. 12

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June  2017   7

               แนวคิดของอุตสาหกรรมที่สอนให้คนรู้ว่าไม่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์อะไรมาก เพราะในโรงงาน

               มีคนคิดให้แล้ว และการศึกษายุค 1.0 เป็นการศึกษาเพื่อสังคมการเกษตร เป็นการศึกษาแบบ
               เบ็ดเสร็จ เรียนตามที่ครูสอนไปเรื่อยๆ เน้นการบรรยายเป็นหลัก

                      ประการที่สอง กล่าวถึงกลุ่มความคิดการศึกษา 4.0 ในสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม
               Leapfrog ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้สร้างนวัตกรรม กลุ่ม CCPR-Critical Mind, Creative

               Mind, Productive Mind, and Responsible Mind เน้นเพื่อสร้างผลผลิต และกลุ่ม Industrial

               4.0 เน้นการได้มาซึ่งนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2559 ก)
                      ประการที่สาม คือ สี่เสาหลักการศึกษา 4.0 ซึ่งประกอบด้วย Invention, Innovation,

               Imagination, และ Production (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2559 ข)
                      กลุ่ม Invention ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการศึกษา 4.0  เพราะเป็นจุดเริ่มต้นและตั้งต้น

               ของนวัตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มต้นในมหาวิทยาลัยมากกว่า แม้ว่านอกมหาวิทยาลัยอาจจะมี

               กิจกรรมด้านนี้อยู่บ้างก็ตาม
                      กลุ่ม Innovation เป็นกลุ่มที่นํา Innovation ไปสู่สถานประกอบการ โดยอาศัยพื้นฐาน

               ทางการจัดการ และการธุรกิจอย่างมาก กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานประกอบการและ

               ประชาชนที่ใช้นวัตกรรม สถานศึกษาที่ให้ความสําคัญกับเรื่องนี้จะเน้นการวิจัยและพัฒนา และ
               การสร้างภาวะผู้นําการจัดการและความรับผิดชอบต่อสังคม

                      กลุ่ม Production เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ในสองกลุ่มแรก และเป็นกลุ่มที่ยัง
               ไม่ได้รับการศึกษา 4.0 มากนัก ยังเป็นผู้บริโภคนิยมมากกว่า กลุ่มนี้ควรได้รับการศึกษาแบบ

               ผลผลิตนิยม (Productive Education)  เน้นการสอนที่สร้างนิสัยการเป็นผู้ผลิตให้ได้ ทั้งองค์

               ความรู้และผลิตภัณฑ์
                      กลุ่ม Imagination เป็นกลุ่มหลักการวางรากฐานของการศึกษา 4.0 โดยเฉพาะ

               การศึกษาในระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่เด็กยังมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสูง
               บทบาทการศึกษาในระดับนี้ต้องได้รับการปฏิรูปเพื่อเตรียมความพร้อมให้การคงอยู่ที่ยั่งยืนของ

               การศึกษา 4.0  การศึกษาระดับนี้ควรรักษา ส่งเสริม หล่อเลี้ยง และก่อให้เกิดความเจริญเติบโต

               ของพลังจินตนาการของเด็กและเยาวชนไทยของเราต่อไป
                      โดยสรุปแล้วแนวคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตาม

               แนวคิดประเทศไทย 4.0 นั้นเป็นการเสนอทางเลือกว่าหากประเทศไทยต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ

               ของตนตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 แล้วต้องจัดการศึกษาที่จะส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และทํา
               ให้ผู้เรียนสามารถคิดและสร้างนวัตกรรมให้ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ถ้าทําได้ โดยเฉพาะแนวคิดที่
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17