Page 7 - JRISS_VOL1
P. 7

2  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ความนําสู่เรื่อง

                                                                                  2
                    เมื่อท่านอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์   กล่าวถึง
            โมเดลประเทศไทย 4.0 ท่านใช้ภาษาอังกฤษว่า “Valued-Based Economy” (Suvit

            Maesincee, 2016; สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2558) และด้วยแนวคิดประเทศไทย 4.0 นี้เองที่เป็น
            จุดเริ่มต้นของความร้อนแรงแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศไทย ผู้เขียนจึงขอใช้คําสําคัญ หรือ

            keyword นี้ในการค้นคว้าเพื่อเขียนบทความนี้เป็นหลัก

                    มูลเหตุจูงใจในการศึกษาและเขียนบทความนี้เกิดขึ้นจากความไม่รู้และสงสัยของผู้เขียน
            เองว่า “4.0” คืออะไร เพราะที่คุ้นเคยคือระบบเกรดที่มีคะแนนเต็ม 4.00 ผลการเรียนของระบบ

            คะแนนนี้ก็มีตั้งแต่ 0.00 ถึง 4.00 คนที่มีคะแนนเฉลี่ย 3.00 เชื่อว่าเรียนอ่อนกว่าคนที่ได้คะแนน
            เฉลี่ย 4.00 แต่โมเดลการพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้นใช้ทศนิยมแค่ตัวเดียวคือ 1.0, 2.0, 3.0, และ

            4.0 และไม่มี 3.5  หรือ 2.8  ถ้าเช่นนั้น ทําไมไม่ใช้ตัวเลขธรรมดาเรียกยุคแต่ละยุค เช่น ยุคแรก

            ยุคที่สอง ยุคที่สาม และยุคที่สี่ เป็นต้น
                    นอกจากข้อสงสัย (ส่วนตัว) ดังกล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีข้อสงสัยทางวิชาการด้วยว่า “ถ้า

            แนวคิดประเทศไทย 4.0 เป็นยุทธศาสตร์ และความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” แล้วประเทศไทยจะ

            ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศมีรายได้สูงได้หรือไม่ และการศึกษาจะต้อง
            ปฏิรูปตนเองอย่างไรจึงจะช่วยให้ประเทศไทยไปถึงฝัน


            พัฒนาแนวคิดในต่างประเทศ

                    จากคําสําคัญ value-based economy ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนได้สืบค้นแนวคิดจาก

            อินเตอร์เน็ต และข้อค้นพบพอสรุปได้ดังนี้
                    สิ่งแรกที่พบคือนักวิชาการใช้คํา “value-based” กับหลายแนวคิดนอกเหนือจาก

            economy  เช่น “value-based management (Koller, 1994); Value-Based Health Care
            Delivery (Porter 2009); value-based pricing (Financial Times, 2016); หรือ Values

            Based Banking (UNEP, 2015) เป็นต้น แต่ละแนวคิดมีลักษณะเฉพาะเป็นของแต่ละเรื่อง แต่

            หัวใจหลักอยู่ที่การให้ความสําคัญกับคุณค่าของสิ่งที่ทําและความแปลกใหม่ที่ทําให้เกิดความ
            แตกต่างเพื่อเป็นจุดขายและจุดแข่งของกิจการที่ทําดังความเห็นในบทความของ BRANDist

            (2016) ที่ชี้ให้เห็นว่าแนวคิด 4.0 ถูกนํามาใช้เพื่ออธิบายโลกใบใหม่ เพื่ออธิบายสิ่งใหม่ที่ยังไม่


            2  ตําแหน่งปัจจุบันคือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แต่แนวคิดประเทศไทย 4.0 นั้นท่านนําเสนอตั้งแต่ดํารงตําแหน่ง
            รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12