Page 8 - JRISS_VOL1
P. 8

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June  2017   3

               สามารถอธิบายให้เจาะจงชัดเจนได้ เราไม่สามารถแม้แต่จะใช้วิธีเดิมๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เคยทํา

               ได้ หมายความว่า สิ่งที่เราเคยทําได้ด้วยวิธีที่เคยใช้ อาจจะใช้ไม่ได้ในการทําสิ่งเดียวกันนั้นอีก
               ต่อไป ความอยู่รอดในโลกอนาคตจึงขึ้นอยู่กับการคิดใหม่ทําใหม่ หรือนวัตกรรมนั่นเอง

                      เฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับ value-based economic นั้น นักวิชาการนานาชาตินําเสนอ
               เรื่องนี้หลายลักษณะ แต่โดยสรุปมีสาระสําคัญพอสรุปดังนี้

                      บทความ Value-based economy (2017) ซึ่งนําเสนอไว้ใน www.axiosophy.net

               กล่าวถึงความเป็นมาของเรื่องนี้ว่าเกิดจากการพัฒนาที่ผิดพลาดในอดีต กล่าวคือยิ่งพัฒนายิ่ง
               สร้างปัญหา และความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งมีมากขึ้น การนิยาม GDP โดยไม่

               รวมตัวแปรความอยู่ดีกินดี (wellness) ไว้นั้นทําให้เรามีปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ ดังนั้นจึงต้องคิดหา
                                                                              3
               ตัวแบบหรือรูปแบบทางเศรษฐกิจใหม่ นั่นคือ Value-based economy  และในบทความ
               ดังกล่าวได้อธิบายเศรษฐกิจแนวใหม่นี้ไว้ว่าจะต้องมีกฎใหม่และระบบจูงใจแบบใหม่ การลงทุน

               จะไม่มุ่งผลตอบแทนสูงสุด แต่จะมุ่งมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม คําว่า value หรือคุณค่านี้จะ
               หมายความรวมถึงทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนสภาพการณ์ที่จะนํามาซึ่ง

               ประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและทําให้ชีวิตมีค่าและมีความหมายมากขึ้น

                      Klamer (2016)  ชี้ว่าเศรษฐกิจแนวใหม่นี้มุ่งเน้นความเป็นอยู่ที่ดี สังคมน่าอยู่ และ
               องค์การที่สร้างประโยชน์ ไม่เหมือนระบบเศรษฐกิจเดิมที่มุ่งเน้นผลกําไร รายได้ และการเติมโต

               ของ GDP แต่เศรษฐกิจแนวใหม่นี้ให้ความสําคัญกับคุณภาพชีวิต การงาน ผลผลิต องค์การ และ
               สังคม วิถีทางฐานคุณค่า (value-based approach) ซึ่งเปลี่ยนจุดมุ่งที่เน้นปริมาณมาเป็น

               คุณภาพมากขึ้น

                      Chang (2011)  อธิบายเกี่ยวกับ Value-based economy ในลักษณะเดียวกันกับสอง
               แนวคิดที่นําเสนอมาข้างต้น และให้รายละเอียดเพิ่มขึ้น กล่าวคือ Chang ชี้ว่าคําว่า Value

               based economy จะไม่ค่อยสื่อความอะไรมากนักหากเราได้ทราบความเป็นมาที่ต้องมีการคิด
               ตัวแบบเศรษฐกิจใหม่ (new economic model) ซึ่งมาจากปัญหาการพัฒนาที่ผ่านมาที่เน้นวัตถุ

               มากเกินไป ระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ได้สร้างความร่ํารวยให้กับคนที่รวยอยู่แล้ว รวยมากขึ้น แต่

               คนส่วนใหญ่ก็ยังยากจนอยู่ ขณะที่สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติถูกทําลายลงเรื่อยๆ การฉ้อราษฎร์
               บังหลวงก็เป็นไปเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับกลุ่มชนผู้มีอํานาจและกลุ่มผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ



               3  ยังไม่มีการบัญญัติคําภาษาไทยอย่างเป็นทางการสําหรับแนวคิดนี้ แต่ที่กล่าวถึงไว้มี เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (ไทยรัฐ
               ออนไลน์ 2016) หรือ เศรษฐกิจคุณค่า (Sirawit Valley 2016)  หรือ เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นคุณค่าของสินค้าแต่ใช้ภาษาอังกฤษว่า
               Value-driven Economy (กรุงเทพธุรกิจ 2017) ดังนั้นผู้เขียนจึงขอใช้คําภาษาอังกฤษไปก่อน และจะกล่าวถึงเรื่องนี้ภายหลัง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13