Page 80 - JRISS_VOL1
P. 80
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 75
5. นําเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายให้การดําเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง
ที่ฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดกรณีที่เช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน สามารถดําเนินคดีไปในคดีเดียว
ได้ โดยไม่ติดปัญหาเรื่องอํานาจพิจารณาคดีของศาล
6. การทบทวนวรรณกรรม
จากการศึกษาข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย คําพิพากษาศาลฎีกา และตํารา
กฎหมายต่างๆ แล้ว พบว่ามีกฎหมายส่วนอาญาที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษผู้สั่งจ่ายเช็คที่ถูก
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และกฎหมายส่วนแพ่งที่บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงเช็คที่เรียกให้ผู้สั่ง
จ่ายชําระเงินตามเช็คตลอดจนหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการดําเนินคดีกฎหมายทั้งในทางอาญา
และทางแพ่ง ดังนี้
6.1 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
ก. บุคคลผู้ออกเช็คเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะ
หรือมีการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(3) ให้ใช้เงินมีจํานวนสูงกว่าจํานวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ใน
ขณะที่ออกเช็คนั้น
(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็ค
จนจํานวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน
ตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจําคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.
2534(ห้องสมุดกฎหมาย, 2434)
ข. ในกรณีที่จํานวนเงินในเช็คแต่ละฉบับหรือหลายฉบับรวมกันไม่เกินจํานวนที่ผู้
พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งได้ กล่าวคือ ไม่เกิน 300,000 บาท การฟ้อง
คดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คนั้นจะรวมฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาก็ได้ ซึ่งการพิจารณาคดีแพ่ง
ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 8 แห่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 (ห้องสมุดกฎหมาย, 2434)