Page 78 - JRISS_VOL1
P. 78

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  73

                         3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดอาญาตาม

               พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 กับกฎหมายส่วนแพ่งของการฟ้องร้องให้
               ผู้สั่งจ่ายชําระหนี้กรณีเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                         4. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดําเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก
               การใช้เช็ค พ.ศ.2534 การดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงิน ตามประมวลกฎหมาย

               แพ่งและพาณิชย์ และการดําเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธี

               พิจารณาความอาญา ตลอดจนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินคดีข้างต้น
                         5. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายให้การดําเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง

               ที่ฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดกรณีที่เช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน สามารถดําเนินคดีไปในคดีเดียว
               ได้ โดยไม่ติดปัญหาเรื่องอํานาจพิจารณาคดีของศาล

                      3. สมมติฐานของการศึกษา

                         กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การเรียกให้ผู้สั่งจ่ายเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
               ชําระเงินนั้น และกฎหมายอาญาที่ลงโทษและป้องปรามไม่ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คออกเช็คที่ถูกธนาคาร

               ปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ

               21 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และในมาตรา 8 แห่ง
               พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้บัญญัติให้โจทก์สามารถดําเนินคดีแพ่งไปในคดีอาญาได้ด้วย แต่

               จะต้องเป็นกรณีที่จํานวนเงินในเช็คที่ฟ้องมานั้นไม่เกินจํานวนเงินที่ผู้พิพากษานายเดียวมีอํานาจ
               พิจารณาพิพากษาได้ กล่าวคือ จํานวนเงินไม่เกิน 300,000 บาทด้วย แต่หากจํานวนเงินที่

               เรียกร้องมาในส่วนแพ่งเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษานายเดียว หรือเกินกว่า

               300,000 บาทแล้ว ปัจจุบันยังคงต้องแยกดําเนินคดีออกเป็นส่วนคดีแพ่ง และส่วนคดีอาญาอีก
               ส่วนหนึ่ง ไม่สามารถดําเนินคดีไปพร้อมกันในคดีเดียวกันได้ อันเป็นภาระกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

               กับคดีที่ต้องดําเนินคดีในเรื่องเดียวกันซ้ําซ้อนกัน อาทิเช่น ผู้ทรงเช็คในฐานะโจทก์ ผู้สั่งจ่ายเช็ค
               ในฐานะจําเลย พยานที่จะต้องมาเบิกความในคดี ตลอดจนศาลและเจ้าหน้าที่กระบวนการ

               ยุติธรรมต่างๆ ที่จะต้องมาดําเนินคดีในเรื่องเดียวกันซ้ํากันสองคราว โดยเป็นคดีอาญาครั้งหนึ่ง

               และเป็นคดีแพ่งอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น จึงสมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการ
               ดําเนินคดีในทางแพ่งเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระหนี้เงินตามเช็คสามารถดําเนินคดีไปในคดีเดียวกับ

               คดีอาญาได้ โดยไม่ติดปัญหาเรื่องอํานาจพิจารณาคดีของศาล
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83