Page 77 - JRISS_VOL1
P. 77
72 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
ดําเนินคดีกับผู้สั่งจ่ายเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นคดีอาญา เพื่อบีบบังคับให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงิน
ในระหว่างถูกฟ้อง เนื่องจากผู้สั่งจ่ายมีความเสี่ยงที่จะได้รับโทษจําคุก หรือแม้แต่ว่าตนบริสุทธิ์
หากศาลมีคําสั่งประทับรับฟ้องแล้ว ผู้สั่งจ่ายในฐานะจําเลยย่อมต้องหาหลักทรัพย์มาประกันตัว
ระหว่างสู้คดีอาญาด้วย ซึ่งเมื่อผู้สั่งจ่ายชําระเงินครบถ้วนแล้วผู้ทรงเช็คหรือโจทก์ก็จะดําเนินการ
ถอนฟ้องคดีอาญาออกไป แต่ในกรณีที่มูลหนี้ในเช็คมีจํานวนมาก หากผู้ทรงเช็คเลือกฟ้อง
คดีอาญาเพียงอย่างเดียวแล้วผู้สั่งจ่ายหลบหนีคดีอาญาไม่มาสู้คดี คดีอาญาก็ไม่สามารถ
ดําเนินคดีต่อไปได้เนื่องจากคดีอาญามีหลักการที่สําคัญว่า ต้องพิจารณาคดีต่อหน้าจําเลย ต่างกับ
คดีแพ่งที่สามารถพิจารณาคดีลับหลังจําเลยได้ โดยใช้กระบวนพิจารณาคดีโดยการขาดนัด ดังนั้น
การดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับผู้สั่งจ่ายเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงมีความสําคัญเท่า
เทียมกัน
แต่อย่างไรก็ตาม การดําเนินคดีอาญากับผู้สั่งจ่ายเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอัน
เกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 กับการดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินตามเช็ค ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ในข้อเท็จจริงเดียวกัน ผู้ทรงเช็คจะดําเนินคดีอาญาและ
คดีแพ่งไปพร้อมกันเป็นคดีเดียวกันได้เฉพาะกรณีที่จํานวนเงินในเช็คที่ฟ้องร้องมาในคดีนั้นไม่เกิน
300,000 บาท ทั้งนี้ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบพระธรรมนูญศาล
ยุติธรรม โดยสามารถดําเนินคดีได้ที่ศาลแขวง แต่หากจํานวนเงินในเช็คแต่ละฉบับหรือหลาย
ฉบับที่ฟ้องร้องรวมกันมาเรียกเงินจํานวนเกินกว่า 300,000 บาทแล้ว จะต้องดําเนินคดีส่วน
อาญาและแพ่งแยกออกจากกัน ไม่ว่าจะดําเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหายเป็นผู้ฟ้องเองหรือพนักงาน
อัยการเป็นโจทก์ให้ โดยคดีอาญาจะฟ้องต่อศาลแขวงและคดีแพ่งฟ้องต่อศาลจังหวัด ทั้งที่คู่ความ
และพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน ก่อให้เกิดภาระของคู่ความ พยาน ศาล และเจ้าหน้าที่
กระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องจะต้องดําเนินคดีซ้ํากันสองครั้ง ซึ่งผลของคําพิพากษาใน
คดีอาญาและในคดีแพ่งอาจไม่สอดคล้องกัน
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบความผิดอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก
การใช้เช็ค พ.ศ.2534 ซึ่งบัญญัติให้กรณีผู้สั่งจ่ายออกเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ค
เป็นความผิดทางอาญา และหลักเกณฑ์การดําเนินคดีอาญาดังกล่าว
2. เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายส่วนแพ่งของการฟ้องร้องเรียกให้ผู้สั่งจ่าย
ชําระหนี้กรณีเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหลักเกณฑ์
การดําเนินคดีแพ่งดังกล่าว