Page 76 - JRISS_VOL1
P. 76
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 71
is under District Court jurisdiction. If an amount of claim is over than 300,000 baht,
it is required to process litigation separately due to law of jurisdiction even it bases
on same fact and evident. This will bring burden to parties, witnesses, related legal
authority and Courts to involve in both civil and criminal litigations, consequently
it would affect on consistent of the judgment.
Keywords : Comparative litigation, Cheque payer, Cheque
บทนํา
1. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
เช็ค ถือเป็นหนังสือตราสารชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนมือและใช้แทนเงินสดได้
สามารถนําไปใช้ในการชําระหนี้ต่างๆได้ โดยในส่วนกฎหมายแพ่ง เช็คถือเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่ง
ซึ่งผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้กับผู้รับเงิน และเช็คจะต้องมีรายการตามที่
กฎหมายกําหนดจึงจะเป็นเช็คที่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ ดังนั้น เช็คจึงต้องมีความ
น่าเชื่อถือที่ว่าผู้ที่ได้รับเช็คมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทรงเช็คนั้น จะได้รับชําระเงินตาม
จํานวนที่ปรากฏอยู่ในเช็คนั้น และเมื่อเช็คนั้นไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ กฎหมายก็
ย่อมที่จะต้องคุ้มครองผู้ทรงเช็ค เพื่อมิให้เช็คนั้นเป็นเพียงกระดาษที่ไม่มีค่าไม่มีความหมายใดๆ
ซึ่งในส่วนกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติให้ผู้ทรงเช็คที่ไม่สามารถ
เรียกเก็บเงินจากธนาคารมีสิทธิที่จะฟ้องให้ผู้สั่งจ่าย รวมถึงผู้ลงลายมือชื่อในเช็คในฐานะต่างๆรับ
ผิดตามเนื้อความในเช็คได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ทรงเช็คได้รับเงินตามเช็ค ส่วนกฎหมาย
อาญา ได้บัญญัติความผิดของผู้สั่งจ่ายที่ออกเช็คมาแล้วเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้อยู่ใน
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นการลงโทษและป้องปรามไม่ให้
บุคคลออกตราสารที่ไม่มีความน่าเชื่อถือออกมา
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดเหตุเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว
ผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินตามเช็ค และมีสิทธิที่จะฟ้อง
ผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญาได้ด้วย ซึ่งในส่วนคดีแพ่งหากศาลพิพากษาให้ผู้สั่งจ่ายในฐานะจําเลยเป็น
ฝ่ายที่ต้องรับผิดแล้วและผู้สั่งจ่ายไม่ยอมชําระเงินให้กับผู้ทรงเช็คในฐานะโจทก์ ก็จะมี
กระบวนการเพื่อบังคับชําระหนี้ต่อไป คือ การยึดทรัพย์บังคับคดีในทางแพ่งเอากับทรัพย์สิน
ต่างๆของผู้สั่งจ่ายได้ ส่วนคดีอาญาหากศาลพิพากษาให้ผู้สั่งจ่ายในฐานะจําเลยเป็นฝ่ายที่ต้องรับ
ผิดแล้ว ผู้สั่งจ่ายย่อมต้องได้รับโทษทางอาญา คือ โทษจําคุกและปรับ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงนิยม