Page 69 - JRISS_VOL1
P. 69
64 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า แบ่งออกเป็น 2
ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับการทํางานเป็นทีม 12 ด้าน จํานวน 60 ข้อ โดยอาศัย
แนวคิดของ Parker (อ้างถึงในสุนันทา เลาหนันทน์, 2549) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับ
ความเห็นและข้อเสนอแนะในการทํางานเป็นทีม และผู้ศึกษาได้พัฒนาแบบสอบถามในการศึกษา
ครั้งนี้จากเครื่องมือการวิจัยของเตือนใจ โพธิ์ทอง (2551) ศึกษาความสอดคล้องเชิงเนื้อหาโดย
ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดลองใช้แบบสอบถามดังกล่าวที่โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา อําเภอเบญจ
ลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93
การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
1. ผู้ศึกษาขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานีเพื่อประสานงานและ
ขอเก็บรวบรวมข้อมูลที่โรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา และผู้วิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการศึกษา
1. สภาพการทํางานเป็นทีม
1.1 การทํางานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา อําเภอน้ําขุ่น จังหวัด
อุบลราชธานี พบว่าทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ
แรกคือ ด้านความเห็นพ้องกัน การประเมินผลตนเอง และด้านรูปแบบการทํางานที่หลากหลาย
ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ําที่สุดคือ ด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์
1.2 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ําสุดในแต่ละด้านเป็นดังนี้ คือ
ด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ คือ การทํางานตามแผนที่วางไว้ กับมีการวางแผน
และกําหนดปฏิทินที่ชัดเจน
ด้านบรรยากาศการทํางานที่ปราศจากพิธีรีตอง คือ การสร้างหรือส่งเสริมอารมณ์
กับ ความรู้สึกที่ดีในการทํางาน และการสร้างอารมณ์ขันเพื่อลดความเครียดในการทํางาน
ด้านการมีส่วนร่วม คือการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนอย่างเต็มที่ กับการ
มีส่วนร่วมในการกําหนดเกณฑ์และแนวการดําเนินงาน
ด้านการรับฟังซึ่งกันและกัน คือ การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่น กับ
เชิญบุคคลอื่นมาเพื่อสร้างความเข้าใจกันและกัน