Page 66 - JRISS_VOL1
P. 66
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 61
จากสมาชิกองค์การคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากผลของความร่วมมือของคนในองค์การนั้น ซึ่ง
สังคมไทยและหน่วยงานต่างๆ ควรให้ความสําคัญและสนใจเรื่องนี้มากขึ้น เพราะการทํางานเป็น
ทีมจะเป็นการรวมทักษะและประสบการณ์ที่หลากหลายมาร่วมกันทํางาน ซึ่งผู้วิจัยก็เล็งเห็น
ความสําคัญเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง แต่มักจะได้ยินคนไทยกล่าวอยู่เสมอว่าคนไทยทํางานเป็นทีมไม่
เป็น
จากรายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา อําเภอน้ําขุ่น จังหวัด
อุบลราชธานี ประจําปี 2558 (โรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา, 2558: 21-25) พบว่าโรงเรียนน้ําขุ่นวิทยามี
บุคลากรทั้งสิ้น 58 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 1 คน และข้าราชการครู ครูอัตราจ้าง และ
ลูกจ้างประจําอีก 57 คน โรงเรียนได้แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารงาน
วิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคลและงบประมาณ ฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน และฝ่าย
บริหารงานทั่วไป และแต่ละฝ่ายยังมีการแบ่งกลุ่มงานและงานย่อยอีกหลายส่วน ดังนั้นการ
ทํางานเป็นทีมจึงเป็นสิ่งสําคัญมากในการที่จะทําให้งานของโรงเรียนประสบผลสําเร็จตาม
เป้าหมายที่วางไว้
ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการรายงานการปฏิบัติงาน หรืองานวิจัยใดที่กล่าวถึงการทํางาน
เป็นทีมของโรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา จึงทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาว่าบุคลากรของโรงเรียนแห่งนี้มี
การทํางานเป็นทีมมากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง และบุคลากรของโรงเรียนมี
ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเพื่อให้การทํางานเป็นทีมมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลยิ่งขึ้นอย่างไร จึงเสนอโครงการการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ขึ้นมาดังมีวัตถุประสงค์ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาการทํางานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา อําเภอน้ําขุ่น จังหวัด
อุบลราชธานี
2. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการทํางานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียนน้ําขุ่นวิทยา อําเภอ
น้ําขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
เอกสารเกี่ยวข้องที่สําคัญ
สาระของแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาที่สําคัญพอสรุปได้ว่าการทํางานเป็นทีม
หมายถึงกลุ่มบุคคลที่มาทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปแล้ว
สมาชิกจะประกอบด้วยบุคคลที่มีความหลากหลายทางความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ และทีม