Page 67 - JRISS_VOL1
P. 67

62  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ก็ใช้ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการทํางานเพื่อให้การทํางานเป็นไป

            อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (กุรุพินท์ นิตยานันทะ, 2551:25; เรณู เชื้อสะอาด,
            2552: 10; และบุณริสาก์ สุจันทรา, 2555: 13) ส่วนกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดใน

            การทํางานเป็นทีมของปาร์คเกอร์ (Parker, 1990 อ้างถึงในสุนันทา เลาหนันทน์, 2549: 114-
            122) ซึ่งมีทั้งหมด 12 ด้านคือ ด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ ด้านบรรยากาศการทํางานที่

            ปราศจากพิธีรีตอง ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการรับฟังซึ่งกันและกัน ด้านความไม่เห็นด้วยใน

            ทางบวก ด้านความเห็นพ้อง ด้านสื่อสารที่เปิดเผย ด้านบทบาทและการมอบหมายงานที่ชัดเจน
            ด้านภาวะผู้นําร่วม ด้านความสัมพันธ์กับภายนอก ด้านรูปแบบการทํางานที่หลากหลาย และด้าน

            การประเมินผลงานของตนเอง
                    ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ เป็นการกําหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของสมาชิกทีมงาน เป็น

            การวาดภาพอนาคตขององค์การ วัตถุประสงค์ที่ดีต้องชัดเจนและเข้าใจตรงกันของสมาชิก และ

            ผู้บริหารสถานศึกษาให้การสนับสนุน
                    บรรยากาศการทํางานที่ปราศจากพิธีรีตอง เป็นบรรยากาศในการทํางานที่เรียบง่าย

            ไม่เป็นทางการ เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นกันเอง ซึ่งจะเป็นการทํางานที่ไม่น่าเบื่อ และเป็น

            บรรยากาศเปิดในการทํางานร่วมกัน
                    การมีส่วนร่วม เป็นการเปิดให้สมาชิกทีม หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานในสถานศึกษาได้เข้า

            มามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นการสร้างความผูกพันและการยอมรับกัน
            และกัน ตลอดจนสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของงานร่วมกันตั้งแต่ต้น

                    การรับฟังซึ่งกันและกัน เป็นการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลของเพื่อนร่วมงาน

            ใส่ใจและสนใจผู้นําเสนอ หรือคู่สนทนาอย่างจริงใจ ไม่วิพากษ์ หรือโต้แย้งทันที
                    ความไม่เห็นด้วยในทางบวก เป็นการติเพื่อก่อมากกว่าการสร้างความขัดแย้งทาง

            ความคิดของสมาชิกกลุ่ม เพราะความเห็นไม่ตรงกัน หรือความขัดแย้งทางความคิด และแนว
            ปฏิบัติอาจจะเกิดขึ้นได้ในการทํางานร่วมกัน ทีมงานต้องสามารถใช้ความเห็นต่างในทาง

            สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของทีม

                    ความเห็นพ้อง โอกาสที่สมาชิกองค์การจะมีข้อสรุป หรือความเห็นในบางเรื่อง หรือบาง
            สิ่งตรงกันก็อาจจะมีความเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกต้องมีความเห็นตรงกัน

            ทั้งหมดก่อนจึงจะนําแนวคิดไปสู่การปฏิบัติได้ แต่ความเห็นพ้องอาจจะหมายถึงความเห็นส่วน

            ใหญ่ขององค์การมากกว่าการเห็นด้วยกันอย่างเป็นเอกฉันท์
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72