Page 25 - JRIHS VOL2 NO3 July-September 2018
P. 25

20  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.-3 July-September 2018

             หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ซึ่งผูเรียนทุกคนจะตองไดรับการการบมเพาะคุณธรรมจริยธรรม
             เพื่อใหผูใชบริการและสังคมมั่นใจวาจะไดรับการพยาบาลที่มีคุณภาพจากผูประกอบวิชาชีพที่มี

             จริยธรรม (มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร, 2560)
                     จากสถานการณปจจุบันที่มีความกาวหนาของเครื่องมือ อุปกรณ และเทคโนโลยีดาน
             การรักษา ประชาชนมีความตองการดานสุขภาพที่มากขึ้น และมีภาวะสุขภาพที่ซับซอน พยาบาล
             ทุกคนจึงตองเผชิญกับประเด็นขัดแยงทางจริยธรรมโดยไมสามารถหลีกเลี่ยงได ประเด็นเหลานี้
             นับวันจะเพิ่มความยุงยากและซับซอนมากขึ้น จึงมีความจําเปนอยางยิ่งที่จะตองมีระบบการ

             เตรียมความพรอมของพยาบาลใหมีทักษะการตัดสินใจเมื่อตองเผชิญกับประเด็นขัดแยงทาง
             จริยธรรม โดยการเตรียมความพรอมดังกลาวจะตองเริ่มตั้งแตการเปนนักศึกษาพยาบาล ดังนั้น
             สถาบันการศึกษาพยาบาลจึงเปนองคกรที่มีความสําคัญในการจัดการศึกษา เพื่อใหนักศึกษา

             พยาบาลมีองคความรูดานจริยศาสตรที่เปนพื้นฐานสําหรับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และเมื่อ
             นักศึกษาเขาสูวิชาชีพการพยาบาล ก็จะสามารถเผชิญกับประเด็นขัดแยงทางจริยธรรมไดอยางมี
             ประสิทธิภาพ (อรัญญา เชาวลิตและทัศนีย นะแส, 2559) การปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรมผาน
             สถาบันการศึกษาเปนแนวทางที่สงผลตอคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงคของนักศึกษามากที่สุด

             และใหผลดีที่สุด เนื่องจากสถาบันการศึกษาจะใกลชิดกับนักศึกษา (รุงนภา ตั้งจิตรเจริญกุล, วิชุ
             ดา กิจธรธรรม, สุรีพร อนุศาสนนันท, พิกุล เอกวรางกูร และจันทรเพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล, 2560)
             ซึ่งการรับรูและปลูกฝงจากการศึกษาวิชาชีพพยาบาล การเสริมสรางพฤติกรรมจริยธรรมใน
             ระหวางการศึกษา การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ตัวอยางของพฤติกรรมจริยธรรมของ

             อาจารยผูสอนมีอิทธิพลอยางยิ่งตอการรับรูและการปลูกฝงพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาทั้ง
             ทางบวกและทางลบ (สภาการพยาบาล, 2551)
                     อาจารยพยาบาล เปนบุคคลากรทางสุขภาพที่มีความสําคัญไมนอยไปกวาพยาบาลที่
             ดูแลผูปวยโดยตรง เพราะเปนผูที่ทําหนาที่ในการผลิตพยาบาลที่ดี และเปนผูมีอิทธิพลตอการ

             เรียนรูเจตคติและการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษา ดังนั้น อาจารยพยาบาลจึงตองยึดมั่นและ
             ปฏิบัติการสอนอยางมีจริยธรรมโดยผานกระบวนการเรียนการสอนและการเปนตนแบบที่ดีเพื่อ
             การพัฒนาจริยธรรมของผูเรียน จริยธรรมในการสอนจึงมีความสําคัญอยางมากในหลักสูตร
             พยาบาลศาสตรบัณฑิต และสถาบันการศึกษาพยาบาลจะตองใหความสําคัญในการสงเสริม

             จริยธรรมการสอนใหกับอาจารย (อรัญญา เชาวลิตและทัศนีย นะแส, 2559) จากการทบทวน
             วรรณกรรมพบวางานวิจัยสวนใหญมุงศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตอผูปวย
             แตการศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมการสอนของอาจารยยังมีนอย และจากประสบการณตรงของ
             ผูวิจัยพบวา อาจารยพยาบาลมีพฤติกรรมจริยธรรมการสอนที่หลากหลาย ที่ทําใหนักศึกษาเกิด

             ความรูสึกไดทั้งในทางบวกและทางลบ และพฤติกรรมดังกลาวยังเปนแบบอยางที่นักศึกษา
             พยายามลอกเลียนแบบ ผูวิจัยจึงสนใจศึกษาจริยธรรมการสอนของอาจารยพยาบาลจากการรับรู
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30