Page 45 - JRIHS VOL2 NO1 January-March 2018
P. 45
40 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.2 No.1 January-March 2018
นอนหลับของนักศึกษาพยาบาลจึงสงผลตอคุณภาพการเรียนรูและการฝกประสบการณวิชาชีพ
ดังนั้นผูวิจัยจึงสนใจศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปจจัยที่มีความสัมพันธตอคุณภาพการนอน
หลับของนักศึกษาพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยราชธานี เพื่อเปนแนวทางในการสงเสริมให
นักศึกษา มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี แกปญหาเกี่ยวกับการนอนหลับของนักศึกษาคณะพยาบาล
ศาสตรตอไป
วัตถุประสงคการวิจัย
1. เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยราชธานี
2. เพื่อศึกษาปจจัยที่มีความสัมพันธตอคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล
ศาสตร มหาวิทยาลัยราชธานี
ขอบเขตการวิจัย
1. ขอบเขตดานประชากรและกลุมตัวอยาง
ประชากรคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยราชธานี ที่กําลังศึกษาชั้นปที่ 1-3
จํานวนนักศึกษา 376 คน
กลุมตัวอยางคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยราชธานี ที่กําลังศึกษาชั้นปที่
1-3 คํานวณขนาดของกลุมตัวอยางโดยใชสูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane,1973 อางใน
บุญใจ ศรีสถิตนรากรู, 2547) ไดจํานวนกลุมตัวอยาง 194 คน ผูวิจัยทําการสุมกลุมตัวอยาง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) โดยใชวิธีการสุมแบบชั้นภูมิ (Stratified
Random Sampling) แบงจํานวนนักศึกษาและเทียบอัตราสวนตามจํานวนนักศึกษาแตละชั้นป
และทําการสุมอยางงาย(Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากรหัสประจําตัว
นักศึกษาเพื่อใหไดจํานวนตามที่กําหนด
2. ขอบเขตดานตัวแปรที่ใชในการศึกษา
2.1 ตัวแปรตน ไดแก
2.1.1 ปจจัยสวนบุคคล ไดแก อายุ ระดับชั้นปที่กําลังศึกษา
2.1.2 สุขนิสัยเกี่ยวกับการนอนหลับ
2.1.3 สิ่งแวดลอมทางกายภาพ
2.1.4 ความเครียด
2.2 ตัวแปรตาม ไดแก คุณภาพการนอนหลับ