Page 25 - JRIHS VOL1 NO3 October-December 2017
P. 25

20  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             บทนํา
                     โรคมะเร็งปากมดลูกเปนปญหาที่สําคัญสําหรับสตรีทั่วโลก องคการอนามัยโลก (World

             Health Organization: WHO, 2012) ไดรายงานสถิติของผูปวยมะเร็งทั่วโลกในป พ.ศ. 2560
             พบวามีผูปวยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหมประมาณ 528,000 คน และมีผูปวยเสียชีวิตจากมะเร็ง
             ปากมดลูกประมาณ 266,000 คน ในแตละป จะมีผูหญิงไทยเปนมะเร็งปากมดลูก ประมาณ
             10,000 คน และเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 5,200 คน (สถาบันมะเร็งแหงชาติ, 2561)
             สําหรับประเทศไทย จากรายงานทางสถิติในป พ.ศ. 2552 - 2554 พบวา สตรีไทยเปนมะเร็งปาก

             มดลูกมากเปนอันดับ 2 (รองจากมะเร็งเตานม) สวนใหญจะพบในสตรี อายุ 45 - 50 ป สาเหตุของ
             โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus โดยเชื้อจะฝงตัว ในรางกายโดย
             ไมแสดงอาการใด ๆ แตจะพัฒนาเปนมะเร็งปากมดลูกภายในระยะเวลา 10 - 15 ป ปจจัยเสี่ยงที่

             สําคัญ คือ การมีเพศสัมพันธตั้งแตอายุยังนอย มีประวัติการเปนโรคติดตอทางเพศสัมพันธ เคย
             ตั้งครรภและคลอดบุตรมากกวา 4 ครั้งขึ้นไป การรับประทานยาคุมกําเนิดติดตอกันเปนเวลานาน
             การสูบบุหรี่ และมีภาวะภูมิตานทานรางกายต่ํา (จตุพล ศรีสมบูรณ, 2551)
                     อุบัติการณของมะเร็งปากมดลูกจะลดลงไดถามีการดําเนินการตรวจคัดกรองอยางมี

             ระบบ ดวยวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิผล ใหไดความครอบคลุมสูง โดยมีความถี่ของการ
             ตรวจคัดกรองที่เหมาะสม และมีระบบสงตอที่มีประสิทธิภาพ (ปยวัฒน เลาวหุตานนท, 2556)
             ผลการพยากรณการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะกอนมะเร็งหรือระยะกอนลุกลาม รักษา
             ไดผลดีเกือบรอยละ 100 (จตุพล ศรีสมบูรณ, 2551) ดังนั้นการที่จะใหสตรีไทยไดรับการตรวจ

             Pap Smear ไดครอบคลุมกลุมเปาหมายใหไดมากที่สุด จึงเปนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิง
             รุกดีที่สุด และควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเปนประจําทุกป (มงคล เบญจาภิบาล, 2553)
                     สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี (2560) ไดกําหนดเปาหมายในการตรวจคัด
             กรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยใหสตรี อายุ 30 - 60 ป ไดรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปาก

             มดลูก ไมนอยกวา รอยละ 80 (สะสมผลงานภายใน 5 ป ระหวางปงบประมาณ 2558 – 2562)
             โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง ไดดําเนินการรณรงคตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
             อยางตอเนื่อง แตผลการดําเนินงานยังไมผานเกณฑตามเปาหมายที่กําหนดไว โดยมีอัตราการมา
             รับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30 - 60 ป (สะสมผลงาน)

             ปงบประมาณ 2558 - 2560 พบวามีความครอบคลุมของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู
             ที่รอยละ 74.36 (โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง, 2561) จากการสํารวจขอมูลเบื้องตน
             โดยการสัมภาษณสตรีกลุมเสี่ยง ที่ไมมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในป 2560
             จํานวน 20 คน พบวาสาเหตุที่ไมมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีจํานวน 12 คน (รอย

             ละ 60) ปฏิเสธวาตัวเองไมปวยและไมเสี่ยงตอการเปนโรคมะเร็งปากมดลูก อีก 7 คน (รอยละ
             35) ใหเหตุผลวาอายเจาหนาที่ และอีก 1 คน (รอยละ 5) ใหเหตุผลวาไมตรวจ เพราะวาหาก
             ตรวจพบวาเปน ก็รักษาไมหาย จะยิ่งกลัว และตายไวขึ้น จากขอมูลดังกลาว แสดงใหเห็นวาสตรี
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30