Page 26 - JRIHS VOL1 NO3 October-December 2017
P. 26

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   21

                กลุมเสี่ยงดังกลาว ยังขาดความรูความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งนับวาเปน
                อุปสรรคอยางหนึ่งของการดําเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

                        การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อการปองกันโรคหรือไมนั้น ขึ้นอยูกับการ
                รับรูโอกาสเสี่ยงตอโรคนั้น ๆ การรับรูความรุนแรงของโรคนั้น ๆ การรับรูประโยชนหรือผลดีของ
                การปฏิบัติเพื่อปองกันโรค และการรับรูอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อปองกันโรค (O’Donnell,
                2002) ผูวิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมเสริมสรางแรงจูงใจในการปองกันโรค และศึกษาผล
                ของโปรแกรมเสริมสรางแรงจูงใจในการปองกันโรคตอการรับรูเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกในสตรี

                กลุมเปาหมาย โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดย
                ประยุกตแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการปองกันโรคของ Rogers (Maddux and Rogers, 1983)
                ซึ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการปองกันโรคของบุคคลไววา การที่บุคคลจะปฏิบัติพฤติกรรมที่

                หลีกเลี่ยงจากการเปนโรคหรือปองกันโรคได บุคคลนั้นตองมีความเชื่อวาตนเองมีโอกาสเสี่ยงตอ
                การเกิดโรค โรคที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงตอชีวิต การปฏิบัติพฤติกรรมการปองกันโรคจะชวยลด
                ความรุนแรงของโรค และตองไมมีอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการปองกันโรค นอกจากนี้ยัง
                ตองคํานึงถึงสิ่งชักนําสูการปฏิบัติ ไดแก การรับขอมูลขาวสารทางดานสุขภาพจากสื่อตาง ๆ การ

                ไดรับคําแนะนําจากกลุมเพื่อน ญาติ และบุคลากรสาธารณสุข เปนแรงจูงใจใหบุคคลปฏิบัติ
                พฤติกรรมการปองกันโรค เปนแนวทางในการวางแผนปรับปรุงการใหบริการสงเสริม ให
                ประชาชนใสใจสุขภาพตนเอง โดยการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น เพื่อลด
                อัตราปวยและอัตราตายดวยโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัยเจริญพันธุ ตอไป


                วัตถุประสงคการวิจัย
                        วัตถุประสงคหลัก
                        เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสรางแรงจูงใจในการปองกันโรคตอการรับรูเกี่ยวกับ

                มะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุมเปาหมาย โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง อําเภอเมือง
                จังหวัดอุบลราชธานี
                        วัตถุประสงคเฉพาะ
                       1.  เพื่อเปรียบเทียบการรับรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของกลุมทดลอง กอนและหลัง

                เขารวมโปรแกรมเสริมสรางแรงจูงใจในการปองกันโรค
                       2. เพื่อเปรียบเทียบการรับรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ของกลุมทดลองกับกลุม
                ควบคุม กอนและหลังเขารวมโปรแกรมเสริมสรางแรงจูงใจในการปองกันโรค


                สมมติฐานการวิจัย
                        หลังการทดลอง กลุมทดลองที่เขารวมโปรแกรมเสริมสรางแรงจูงใจในการปองกันโรคมี
                การรับรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก สูงกวากอนการทดลอง และสูงกวากลุมควบคุม
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31