Page 21 - JRIHS_VOL1_NO2
P. 21
16 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.2 July-September 2017
บทนํา
ความปวด หมายถึง อาการหรือความรูสึกที่ทําใหเกิดความไมสุขสบายที่เกิดจากการ
กระตุนประสาทรับความเจ็บปวด ซึ่งปจจุบันอาการปวดถือเปนปญหาที่สําคัญมาก สมาคม
การศึกษาเรื่องความปวดแหงประเทศไทย (Thai Association For The Study of Pain: TASP)
ไดจัดใหความปวดเปนสัญญาณชีพที่ 5 ดังนั้น สิ่งสําคัญที่จะชวยตอบสนองความปวดไดถูกตอง
คือ การประเมินความปวด (สิริญญา สิมะลี, 2557)
การประเมินความปวด คือการวัดระดับความปวดของผูปวยใหตรงกับความรูสึกที่
แทจริง เปนสวนหนึ่งในการประกันคุณภาพการรักษาพยาบาล และยังมีความสําคัญใชในการ
วิเคราะหและประเมินผูปวยตั้งแตแรกรับจนสิ้นสุดการรักษา (นิตยา ธีรวิโรจนและคณะ, 2554;
Horgas & Yoon, 2008, p. 199 และ Spadoni, Stratford, Solomon, & Wishart, 2004)
ดังนั้น การประเมินความปวดตองอาศัยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษา พบวา
การประเมินการปวดยังไมสามารถวัดความปวดจากตัวบงชี้ทางชีวภาพของรางกายได จึงตอง
อาศัยการวัดดวยตัวบงชี้อื่นหรือวิธีอื่นแทน เชน ดูจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เชน
อัตราการหายใจ เหงื่อออก ตัวเย็น และจากพฤติกรรมที่ผูปวยแสดงออก เชน การเคลื่อนไหว สี
หนา ทาทางหรือการสงเสียง เหลานี้เปนตน สวนวิธีที่นิยมนํามาใชมากสุดคือ การประเมินความ
ปวดจากการใชเครื่องมือมาวัดความรูสึกผูปวย การรับรูความปวดนั้นยังไดรับอิทธิพลทั้งจาก
ปจจัยดานกายภาพ และชีวจิตสังคม (สิริญญา สิมะลี, 2557; นิตยา ธีรวิโรจนและคณะ, 2554;
Horgas & Yoon, 2008, p. 199 และ Lorenz & Longaker,2001) และเครื่องมือที่ใชบอยใน
การปฏิบัติทางคลินิก คือ เครื่องมือวัดระดับความปวด (Pain Intensity) เปนเครื่องมือที่มี
มาตรฐาน (Goal Standard) แบบประเมินความปวดดวยตนเอง (Self Report) แตก็พบขอจํากัด
กับผูที่มีปญหาดานความคิด ความจํา หรือผูที่ไมไดรับการศึกษา และมีขอจํากัดทางการสื่อสาร ผู
ที่อยูในภาวะวิกฤติ ผูปวยสับสน ใสทอชวยหายใจ เปนตน (Frampton & Hughes-Webb,
2011, p. 283 และ Horgas & Yoon, 2008, p. 199) และพบการจัดการความปวดที่ไมมี
ประสิทธิภาพจากการใชเครื่องมือที่มีอยูในปจจุบัน ทําใหเกิดปญหาผลเสียตามมา จนกลายเปน
ปญหาทางคลินิกที่สําคัญ (นิตยา ธีรวิโรจนและคณะ, 2554)
จากการผาตัดใหญของผูปวยหอศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลนครพนม พบวามีความ
ปวดหลังผาตัดมากกวาระดับ 7 ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง พบวาผูปวยไมไดรับการจัดการ
ความปวดที่ตรงกับความตองการของผูปวย สวนหนึ่งมาจากการใชเครื่องมือการประเมินที่ผูปวย
และพยาบาลเขาใจแปลคาไมตรงกัน ทําใหการจัดการความปวดไมมีประสิทธิภาพ เกิดผลกระทบ
ทั้งกับตัวผูปวย รวมทั้งผลกระทบที่เกิดกับโรงพยาบาล (อัจฉรียา ปทุมวัน, 2551; นิตยา ธีร
วิโรจนและคณะ, 2554 และจันทรา อรัญโชติ, 2557)
ผลกระทบคือ ผูปวยไมไดรับการแกไขปญหาในเรื่องการปวดที่ถูกตอง หากผูปวยไม
สามารถเผชิญปญหาโดยใชกลไกทางจิตได จะทําใหความวิตกกังวลเปนผลรุนแรงตอดานจิตใจ