Page 79 - JRIHS_VOL1
P. 79
74 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
บริหารส่วนตําบลวังด้ง อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ แต่ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของสุภามิตร นามวิชา (2549) ศึกษา
เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของบุคลากรในโรงงาน
อุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแล
สุขภาพตนเอง ทั้งนี้เป็นได้ว่าเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองนั้นมา
จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานั้นต้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎข้อบังคับของสถานที่
ปฏิบัติงานซึ่งเพศจะมีข้อบ่งชี้ในการดูแลสุขภาพที่ต่างกัน เช่น ผู้หญิงจะต้องตรวจสุขภาพคัด
กรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ซึ่งในผู้ชายไม่ได้ตรวจคัดกรอง เป็นต้น สําหรับในผู้สัมผัส
อาหารยังไม่ปรากฏข้อบังคับที่ชัดเจนและกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
สมมติฐานข้อที่ 2 อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
จากผลการวิจัยพบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัส
อาหารซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวารินทร์ ปุยทอง (2547) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลวังด้ง อําเภอเมือง
จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และสอดคล้อง
กับงานวิจัยของปิยาภรณ์ นิกข์นิภา (2549) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของเจ้าหน้าที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
พบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ไม่สอดคล้องกับ
งานวิจัยของอัจฉรา ว่องไวโรจน์ (2548) ที่ทําการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การตรวจสุขภาพประจําปีของพนักงานบริษัทประกันชีวิต พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปี ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษาใน
การศึกษามีการแบ่งช่วงอายุต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษาเป็นกลุ่มที่ไม่บังคับให้ตรวจ
สุขภาพตามช่วงอายุ เหมือนกับเจ้าหน้าที่ในสถานปฏิบัติงานทั่วไป เพียงแต่เป็นกลุ่มที่กําลังมีการ
สนับสนุนให้ตรวจสุขภาพทั่วไปเท่านั้นในปัจจุบันเพื่อป้องกันโรคสู่ผู้บริโภค
สมมติฐานข้อที่ 3 ระดับการศึกษาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
จากผลการศึกษาพบว่าระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
ของผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวารินทร์ ปุยทอง (2547) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลวังด้ง
อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งผลการวิจัยยังสอดคล้องกับงานวิจัยของอัจฉรา ว่องไวโรจน์ (2548) ที่