Page 81 - JRIHS_VOL1
P. 81
76 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
พิบูลย์ (2553) ที่ทําการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ของบุคลากรกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่พบว่าการรับรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
ส่งเสริมสุขภาพ ทั้งนี้แม้คะแนนระดับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหารจะต่ํา และมี
ระดับค่าคะแนนของปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูงซึ่งไม่สัมพันธ์กันอาจเป็นผลมา
จาก อุปสรรคในการไปตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหาร เช่น ไม่มีเวลา สถานที่ในการตรวจไกล
ไม่ทราบว่าต้องไปตรวจที่ไหน สิทธิการรักษา เป็นต้น รวมไปถึงนโยบายที่จําเพาะเจาะจงการ
ตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหารเองยังไม่ชัดเจน ว่าต้องตรวจอะไรบ้าง ทําให้ผู้สัมผัสอาหารมี
ระดับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพอยู่ในระดับต่ํา
สมมติฐานข้อที่ 6 ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจ
สุขภาพ
จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหาร เช่นเดียวกับการศึกษาของเมตตา คําพิบูลย์ (2553) ที่
ทําการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรกรม
ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่พบว่าการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ส่งเสริมสุขภาพ และสอดคล้องกับงานอัจฉรา ว่องไวโรจน์ (2548) ที่ทําการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปีของพนักงานบริษัทประกันชีวิต พบว่า
ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ โดยโรเซนสต๊อค
(Rosenstoke, 1974 อ้างถึงใน อัจฉรา, 2548) กล่าวถึง อุปสรรคต่อการปฏิบัติว่าจะเป็นสิ่งที่ทํา
ให้ขัดแย้งทางจิตใจถ้าบุคคลมีความพร้อมในการปฏิบัติสูงในขณะที่อุปสรรคต่อการปฏิบัติสูงจะ
เกิดข้อขัดแย้งทางจิตใจมาก ยากแก่การแก้ไขก็จะทําให้มีพฤติกรรมที่เลี่ยงปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้อง
กับงานวิจัยของสุพัตรา การะเกตุ (2556) ที่ทําการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร ที่พบว่าการ
รับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ แต่ไม่สอดคล้องกับงานวิจัย
ของรฐาสิรี อิ่มมาก (2553) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยด้าน
ความเชื่อสุขภาพกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปี กรณีศึกษาข้าราชการสํานักงาน
สรรพากรภาค 3 ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การตรวจสุขภาพประจําปีทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวได้ให้เหตุผลไว้ว่าอาจเนื่องมาจากข้าราชการที่
เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ประกอบกับผู้บังคับบัญชาได้มีนโยบายให้ข้าราชการ