Page 80 - JRIHS_VOL1
P. 80
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 75
ทําการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปีของพนักงาน
บริษัทประกันชีวิต พบว่าระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
ประจําปีของพนักงานบริษัทประกันชีวิต อาจกล่าวได้ว่าแม้ระดับการศึกษาแตกต่างกันหรือระดับ
การศึกษาไม่เท่ากันก็ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง
สมมติฐานข้อที่ 4 รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
จากผลการศึกษาพบว่ารายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้
สัมผัสอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวารินทร์ ปุยทอง (2547) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลวังด้ง
อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า รายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
และสอดคล้องกับงานวิจัยของงานวิจัยของปิยาภรณ์ นิกข์นิภา (2549) ได้ทําการศึกษาเรื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของเจ้าหน้าที่กรมสนับสนุนบริการ
สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ไม่สอดคล้องกับงานการศึกษาของเมตตา คําพิบูลย์ (2553) ที่
ทําการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรกรมควบคุม
โรค กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่ารายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจ
สุขภาพ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษาดังกล่าวนั้นจําเป็นต้องใช้รายได้เป็น
ตัวกําหนดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ หรือตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจโรคที่อาจเป็น
โรคติดต่อ หรือโรคที่ต้องควบคุม เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าต้องตรวจมากกว่าบุคคลทั่วไปเนื่องจาก
โอกาสเสี่ยงมากกว่า
สมมติฐานข้อที่ 5 ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจ
สุขภาพ
จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพไม่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหาร สอดคล้องกับงานวิจัยของรฐาสิรี
อิ่มมาก (2553) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยด้านความเชื่อ
สุขภาพกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปี กรณีศึกษาข้าราชการสํานักงานสรรพากรภาค 3
พบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปี แต่
ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของสุพัตรา การะเกตุ (2556) ที่ทําการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร ที่พบว่าการ
รับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และสอดคล้องกับเมตตา คํา