Page 74 - JRIHS_VOL1
P. 74
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 69
ตอนที่ 4 แบบสอบถามปัจจัยกระตุ้นในการตรวจสุขภาพ ประยุกต์จากแบบสอบถาม
ของยุภาพร ศรีจันทร์ (2548) โดยมีทั้งหมด 6 ข้อแบ่งเป็น 2 ส่วน
4.1) การได้รับคําแนะนําด้านสุขภาพจากบุคคลใกล้ชิดและบุคลากรด้าน
สาธารณสุข 3 ข้อ
4.2) การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ 3 ข้อ
ตอนที่ 5 แบบสอบถามด้านพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ 5 ข้อ
วิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจง
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทําการวิเคร าะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหารโดยใช้สถิติ Chi-square test (χ²)
ผลการวิจัย
จากจํานวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจํานวน 103 คน พบว่ากลุ่ม
ตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ เป็นเพศหญิงถึงร้อยละ 71.8 และเพศชายร้อยละ 28.2 อายุอยู่ในช่วง 40-
49 ปี ร้อยละ 33 รองลงมาคือ อยู่ในช่วงอายุ 19-29 ปี 30-39 ปี และ 50 ปีขึ้นไปตามลําดับ
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีรายได้ 12,001-36,000 บาท ร้อยละ 53.4 รองลงมาคือ น้อยกว่า 12,000
บาท ร้อยละ 30.1 และระดับการศึกษา อยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 30.1 รองลงมาคือ
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 22.3 รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 จํานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามลักษณะส่วนบุคคล
ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล จํานวน ร้อยละ
(n=103)
เพศ
ชาย 29 28.2
หญิง 74 71.8
อายุ
19 - 29 ปี 25 24.3
30 – 39 ปี 25 24.3