Page 82 - JRIHS_VOL1
P. 82

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  77

               ตรวจสุขภาพประจําปีทุกปี อีกทั้งมีการบริการตรวจสุขภาพที่สะดวก ทําให้ต้องไปตรวจสุขภาพ

               เป็นประจํา
                      สมมติฐานข้อที่ 7 ปัจจัยกระตุ้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ

                      จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยกระตุ้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ ซึ่ง
               สอดคล้องกับการศึกษาของงานวิจัยของปิยาภรณ์ นิกข์นิภา (2549) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ปัจจัย

               ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของเจ้าหน้าที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

               กระทรวงสาธารณสุข และสอดคล้องกับของเมตตา คําพิบูลย์ (2553) ที่ทําการศึกษาเกี่ยวกับ
               เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรกรมควบคุมโรค กระทรวง

               สาธารณสุข พบว่า การได้รับคําแนะนําจากบุคคลใกล้ชิด และการได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็น
               ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับการศึกษา

               เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง

               กรุงเทพมหานคร ของสุพัตรา การะเกตุ (2556) พบว่าการได้รับคําแนะนําจากบุคคลใกล้ชิด และ
               การได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

               ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสิ่งชักนําสู่การปฏิบัติ (Cues to Action) หรือปัจจัย

               กระตุ้นในแบบแผนความเชื่อ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกที่กระตุ้นให้บุคคลเกิด
               ความพร้อมที่จะลงมือทํา เช่น การให้เอกสารสิ่งพิมพ์ การรณรงค์ทางสื่อมวลชน คําแนะนําจาก

               เพื่อน บุคลากรทางสาธารณสุข อยู่ในรูปของการให้คําปรึกษารายบุคคล และการให้ข้อมูลผ่าน
               สื่อมวลชน (สุปรียา, 2550)



               ข้อเสนอแนะ
                      ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย

                      1. จากการศึกษาพบว่าผู้สัมผัสอาหารมีระดับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพอยู่ในระดับต่ํา
               โดยกลุ่มตัวอย่างในด้านการรับรู้อุปสรรคของการตรวจสุขภาพส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการตรวจ

               สุขภาพอยู่ในระดับต่ํา โดยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ทําให้ไม่มี

               เวลาไปตรวจสุขภาพ ซึ่งปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจ
               สุขภาพของผู้สัมผัสอาหาร ดังนั้นการกระตุ้นให้ผู้สัมผัสอาหารตระหนักถึงความสําคัญของการ

               ตรวจสุขภาพของตนเอง

                      2. จากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยกระตุ้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นเกี่ยวกับ
               การได้รับคําแนะนําการตรวจสุขภาพจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขช่วยกระตุ้นให้
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87